การทดลองเนื้อดินเพื่อทำเซรามิกหอม โดยใช้กากดินขาวทดแทนทราย

Authors

  • ธิติมา คุณยศยิ่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 ม.9 ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100 โทร 054-237399 โทรสาร 054-241079

Keywords:

เนื้อดิน, เซรามิกหอม, กากดินขาว, ทดแทน, Clay Body, Fragrant Ceramic, Kaolin Waste, instead

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองเนื้อดินเพื่อทำเซรามิกหอม โดยใช้กากดินขาว ทดแทนทราย และเพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินหลังเผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ใช้วัตถุดิบ 3 ชนิดคือ ดินขาวลำปาง โปแตชเฟลด์สปาร์ และกากดินขาว มาคำนวณโดยใช้ตาราง สามเหลี่ยม รวม 36 อัตราส่วนผสม บดผสมและเผาที่อุณหภูมิสูงสุด 1200 องศาเซลเซียส บรรยากาศ ออกซิเดชันด้วยเตาไฟฟ้า จากการวิจัยพบว่า เนื้อดินที่สามารถขึ้นรูปได้มี 28 อัตราส่วนผสม และทดสอบสมบัติทางกายภาพ 3 ด้าน คือ การหดตัว การดูดซึมน้ำ และความแข็งแรง จากการ ทดสอบทางกายภาพ ผู้วิจัยคัดเลือกเนื้อดินที่มีอัตราการดูดซึมน้ำไม่เกิน ร้อยละ 20 ได้ 9 อัตรา ส่วนผสม คือ อัตราส่วนผสมที่ 1 2 3 4 5 6 7 10 และ13 นำมาทดสอบสมบัติทางกายภาพเพิ่ม 2 ด้าน คือ ระยะการดูด และอัตราการระเหย โดยใช้เวลาทดสอบต่อเนื่อง 7 ชั่วโมง พบว่าเนื้อดิน อัตราส่วนผสมที่ 6 และ13 ซึ่งมีกากดินขาวเป็นส่วนผสมในช่วงร้อยละ 30 – 40 มีระยะการดูด เฉลี่ย ร้อยละ 75.83 มีอัตราการระเหย เฉลี่ย 0.77 กรัม จากน้ำหนักน้ำเริ่มต้น 1 กรัม ในเวลา 7 ชั่วโมง โดยผลการทดสอบมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิห้อง จึงสามารถสรุป ผลได้ว่าการใช้กากดินขาว ในการทดลองทำเนื้อดินเพื่อทำเซรามิกหอม ในช่วงร้อยละ 30 – 40 สามารถใช้ทดแทนทรายได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงรูปแบบในการใช้งาน และสามารถใช้ผลจากการวิจัย นี้เป็นแนวทางในการนำกากดินขาวใช้ทดแทนทรายในการทำเนื้อดินสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกได้

 

Clay Body for Making Fragrant Ceramic by Using Kaolin Waste instead of Silica

The purposes of the research were to find clay bodies for developing fragrant ceramic using kaolin waste instead of sand and to find the physical properties of clay bodies fired at 1200 degree Celsius. The Lampang kaolin, Potash feldspar, and kaolin waste were used as raw materials. The ratios of raw materials were calculated by Triaxial Diagram. All 36 mixing ratios were maximum fired at 1200 degree Celsius using oxidation technique with electric kiln. The result showed that out of 36 mixing ratios, 28 mixing ratios could be used to make a mould. In terms of the physical properties, the study focused on the shrinkage, the water absorption and the strength. From the study, the 9 mixing ratios (number1 2 3 4 5 6 7 10 and13) with less than 20% of water absorption were chosen to do more tests on absorption and evaporation with continual time for 7 hours. The test showed that the mixing ratios number 6 and 13 which consisted of 30-40% of kaolin waste have an average absorption at 75.83 % and an evaporation rate at 0.77 grams from the water weight at 1 gram. The factors involved in the test were humidity and room temperature. The study concluded that kaolin waste could be used instead of sand as a clay body to make a mould for fragrant ceramic.

Downloads