การควบคุมการสูญเสียเหล็กเสริมในการผลิตท่อคอนกรีต เสริมเหล็กหล่อสำเร็จรูปสี่เหลี่ยมสำหรับงานระบายน้ำใต้ผิวจราจร

Authors

  • นิลวัฒน์ พัฒนพงษ์ สาขาเทคโนโลยีการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 หมู่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52100 โทร 054-237399 โทรสาร 054-237388-9

Keywords:

เหล็กเสริม, ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จรูปสี่เหลี่ยม, กำหนดการเชิงเส้น, เทคนิค การสร้างวิธีการตัดใหม่, reinforcement, precast reinforced concrete box culvert, linear programming, column generation technique

Abstract

เหล็กเสริมเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญสำหรับการผลิตท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จรูป สี่เหลี่ยมที่ถูกนำมาใช้เพื่อการระบายน้ำใต้ผิวจราจร การวางแผนการตัดเหล็กที่ดีสามารถลดปริมาณ การใช้เหล็กเสริมลงและลดต้นทุนการผลิตได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้ กำหนดการเชิงเส้นในการวางแผนตัดเหล็กเสริมสำหรับการผลิตท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จรูป สี่เหลี่ยมตาม มอก. 1166-2536 โดยเริ่มดำเนินการจากเลือกขนาดเหล็กเสริม ถอดแบบหาปริมาณเหล็ก เสริม สร้างตัวแบบของปัญหาด้วยเทคนิคการสร้างวิธีการตัดใหม่ คำนวณหาผลลัพธ์และวิธีการตัดเหล็ก เสริมด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แล้วเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้งานของโรงงานผลิต และหลักเกณฑ์ของ กรมบัญชีกลาง ผลการวิจัยพบว่าเมื่อวางแผนการตัดเหล็กด้วยกำหนดการเชิงเส้นสามารถลดการสูญเสีย ปริมาณเหล็กเสริมได้สูงสุดที่ร้อยละ 4.76 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการใช้เหล็กเสริมของโรงงานผลิต

 

Control of Waste and Loss of Reinforcement in Precast Reinforced Concrete Box Culvert Production for Under Road Drainage

Rebar is one of the main materials in the production of precast reinforced concrete box culverts used for under-road drainage. Finding the best way to cut rebar could reduce waste as well as production costs. The purpose of this research is thus to meet this goal through the use of linear programming in the cutting of rebar, in accordance with TIS 1166- 2536. The work was carried out by choosing the size of rebar, estimating the amount required, formulating linear programming models using column generation techniques, and using a computer program to calculate the cost and method of cutting. The results were compared with a factory bill of quantities and the data were calculated based on standards provided by the Comptroller General’s department. The results reveal that the use of linear programming in preparation of reinforcement cutting can reduce the quantity of rebar used by a maximum at 4.76% in comparison with a bill of quantities.

Downloads