การปรับปรุงกระบวนการกะเทาะเปลือกในเมล็ดแมคคาเดเมีย

Authors

  • นิวัติ กิจไพศาลสกุล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เลขที่ 119 ถนนลำปาง-แม่ทะ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100 โทร 054-237399 โทรสาร 054-241079

Keywords:

กะเทาะเปลือก, เมล็ดแมคคาเดเมีย, Macadamia Seed Husking

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของอุณหภูมิที่ใช้ในการอบเมล็ด แมคคาเดเมียและลดของเสียในกระบวนการกะเทาะเปลือกในเมล็ดแมคคาเดเมีย การหาสภาวะ ในการอบที่เหมาะสม ใช้เวลาในการอบ 14 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แล้วนำเอาผลที่ได้ ไปเปรียบเทียบกับกระบวนการปัจจุบันที่ชาวบ้านใช้ สามารถลดเวลาในการอบลง 34 ชั่วโมง ทำให้ ประสิทธิภาพในการอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.83 การกะเทาะเปลือกเมื่อการอบเมล็ดแมคคาเดเมียเสร็จสิ้น ภายในหนึ่งชั่วโมงจะเกิดของเสียขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากเปลือกในเมื่อได้รับความร้อนจะเกิดความเป็น พลาสติกขึ้นบริเวณเปลือก ส่งผลทำให้การกะเทาะเปลือกทำได้ยากขึ้น เนื่องจากเปลือกจะมีความ ยืดหยุ่นมาก เช่นเดียวกับการปล่อยทิ้งไว้นานกว่า 18 ชั่วโมง แต่หากปล่อยให้เมล็ดแมคคาเดเมียที่อบ เสร็จแล้วทิ้งไว้นานเกินกว่า 24 ชั่วโมงเมื่อกะเทาะเปลือกออก เมล็ดที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ มีสีคล้ำ และไม่สามารถนำไปรับประทานได้

การกะเทาะเปลือกในเมล็ดแมคคาเดเมียแบบบีบ จะมีของเสียเกิดขึ้นน้อยกว่าการกะเทาะ เปลือกในเมล็ดแมคคาเดเมียแบบกระแทก ดังนั้นการกะเทาะเปลือกในเมล็ดแมคคาเดเมียแบบบีบ จึงมีความเหมาะสมกว่า การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การอบเมล็ดแมคคาเดเมียหนึ่งครั้งด้วยเตาไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบการอบด้วยเตาอบที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงสามารถลดค่าใช้จ่ายลงคิดเป็นร้อยละ 78.26 ต่อการอบหนึ่งครั้ง คิดเป็นเงินประมาณ 113.50 บาท

 

Improvements to the macadamia seed husking process

The objectives of this research were to find the optimal temperature for drying macadamia seeds and to reduce the quantity of waste resulting from macadamia seed husking.

The research found that the most suitable temperature for drying macadamia seeds was at 50˚ Celsius for a period of 14 hours. When compared with the process currently used by villager producers, it was found that drying macadamia seeds at 50˚ Celsius for 14 hours could reduce the drying time by 34 hours and resulted in an increasing in drying efficiency of 70.83%.

It was found that if husking took place an hour after the drying process, the ‘plastic effect’ of the kernel often resulted in waste. Also, if the macadamia seeds were left for more than 24 hours after drying, the kernels were smaller, darker and inedible.

In order to reduce waste, the research found that using a press method in the husking process yielded better results than the hitting method. An economic analysis also found that using the electric oven to dry the seeds was 78.26% more economical than using an oven fuelled by LPG, reducing the expenses by 113.5 baht per operation.

Downloads