เนื้อดินสำหรับเตรียมอุปกรณ์กรองน้ำเซรามิกเพื่อกรองน้ำบริโภคโดยใช้กากดิน รวมเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มรูพรุนในเนื้อดิน

Authors

  • ธิติมา คุณยศยิ่ง อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โทร 086-9202387

Keywords:

อุปกรณ์กรองน้ำ, เซรามิก, กรองน้ำบริโภค, กากดินรวม, รูพรุนในเนื้อดิน, filter instrument, ceramic, potable water filtration, kaolin waste, porosity in clay body

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองเนื้อดินสำหรับเตรียมอุปกรณ์กรองน้ำเซรามิก เพื่อ กรองน้ำบริโภค โดยใช้กากดินรวมเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มรูพรุนในเนื้อดิน ที่อุณหภูมิ700 องศาเซลเซียส และเพื่อทดสอบสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินสำหรับเตรียมอุปกรณ์กรองน้ำ เซรามิก เพื่อกรองน้ำบริโภค โดยใช้กากดินรวมเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มรูพรุนในเนื้อดิน ที่อุณหภูมิ 700องศาเซลเซียส โดยใช้เนื้อดินพื้นบ้านและกากดินรวมเป็นส่วนผสมเนื้อดิน ความละเอียด ของกากดินรวมเฉลี่ยที่ 50 เมช ใช้อุณหภูมิสูงสุดในการเผา 700องศาเซลเซียส โดยเตาไฟฟ้า ปริมาณกากดินรวมที่ผสมในเนื้อดิน คือ ร้อยละ 10 20 30 และ 40 รวม 4 อัตราส่วนผสม ขึ้นรูป ด้วยมือ จากการวิจัย พบว่า เนื้อดินจำนวน 4อัตราส่วนผสม ทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพ 4 ด้าน คือ การหดตัว ความพรุนตัว การดูดซึมน้ำ และความแข็งแรง จากการทดสอบทางกายภาพ

ผู้วิจัยคัดเลือกเนื้อดินที่มีค่าการดูดซึมน้ำของเนื้อดินที่มีค่ามากกว่าร้อยละ 20 และความพรุนตัว ของเนื้อดินที่มีค่ามากกว่าร้อยละ 35คืออัตราส่วนผสมที่ 3 และ 4 และผู้วิจัยได้ทำการทดสอบ สมบัติทางกายภาพของเนื้อดิน ที่คัดเลือกเพิ่ม 1ด้าน คือทดสอบอัตราการไหลของน้ำ จากการ ทดสอบ พบว่าอัตราส่วนผสมที่3 มีอัตราการไหลของน้ำ เฉลี่ย 0.57 มิลลิเมตร ในเวลา 7 ชั่วโมง และอัตรา ส่วนผสมที่4 มีอัตรา การไหลของน้ำ เฉลี่ย 0.71 มิลลิเมตร ในเวลา 7 ชั่วโมง ซึ่งผล การทดสอบดังกล่าวเป็นอัตราการไหลของน้ำที่น้อยมาก และลักษณะที่ปรากฏคือน้ำที่ไหล จากอุปกรณ์กรองน้ำจะอยู่ในเนื้อดินและผิวอุปกรณ์กรองน้ำไม่ไหลลงสู่ภาชนะรองรับน้ำ ยังผลให้ อุปกรณ์กรองน้ำจากเนื้อดิน ทั้ง 2อัตราส่วนผสมไม่สามารถใช้งานได้จริง และจากผลการวิเคราะห์ ข้อมูลการทดลองทั้งหมด ผู้วิจัยได้แนวทางในการพัฒนาเนื้อดินจากการวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้สามารถ ใช้งานในการกรองน้ำได้ 2 แนวทาง คือ การปรับสมบัติความพรุนตัวให้เพิ่มขึ้นในเนื้อดิน อัตราส่วนผสม ที่ 3และ 4 โดยการเติมวัสดุที่สามารถเผาไหม้ได้ในกระบวนการเผา หรือการลดอุณหภูมิที่ใช้ในการเผา จะสามารถปรับสมบัติความพรุนตัวของเนื้อดินให้เพิ่มขึ้นได้ และ มีแนวโน้มที่สามารถเพิ่มอัตราการไหลของน้ำจากเนื้อดินที่ใช้ขึ้นรูปอุปกรณ์กรองน้ำเซรามิกได้

 

Clay Body for Ceramic Filter Instrument Use for Potable Water Filtration by Using Kaolin Waste as Compound for Enhances Porosity in Clay Body

This study aimed to test the clay body for water filtration Instrument to potable water. The kaolin waste is used as an ingredient to increase the porosity of the clay body at 700 degree Celsius and to test the physical properties of clay body to prepared ceramic water filtration material by using kaolin waste as an ingredient to increase porosity of the clay body at 700 degree Celsius. Local clay body and kaolin waste are used as ingredients, averagere solution of kaolin waste at 50 meshes, using the maximum temperature at 700 degree Celsius by electric furnace. Kaolin waste mix ratio is 10, 20, 30 and 40 percent, handmade forming. Research indicates that clay body mixing ratio of 4 to test the four physical properties, shrinkage, porosity, water absorption and strength. From that test, researcher selected mixing ratio with more than 20 percent of water absorption and 35 percent of porosity that is mixing ratio number 3 and 4, and researcher tested more physical property of selection which is flow rate.Flow rate of water tested showed that the ratio number three has averaged flow rates 0.57 millimeters in 7 hours and 0.71 millimeters in 7 hours in number 4. Those results are very low; the appearance is the water that flows from the device is in the clay body and filter surface cannot flow to the container. Therefore filter Instrument from that 2 mixing ratio clay body cannot be used. According to the analysis of all experimental data, researcher has developed guidelines to improved clay body from this research in two ways.First adjust the properties of the porous clay body and an increase in the ratio number 3 and 4 by the addition of materials that can be burned in the combustion process or reducing the temperature to burn. These method able to increase the porous properties of the clay body, and tends to increase the flow ratio of water from the clay body that forming a ceramic water filter.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย