การพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอน รายวิชา 5672501 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

Authors

  • ญาดา เขื่อนใจ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โทร. 081-6032647

Keywords:

สื่อการสอน, การสร้างแบบจำลอง, ภาษา UML, Instructional Media, Modeling, UML Language

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนในรายวิชา 5672501 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนโดยการประเมิน ผลสัมฤทธิ์การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและหาความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้สื่อ การสอนสำหรับการเรียนการสอนในรายวิชา 5672501 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระดับปริญญาตรีที่เรียนรายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 27 คน โดย ในการวิจัยได้ทำการสร้างสื่อการสอนประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้งานและ ประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าการทดสอบแบบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ (1)ในด้านของความรู้ที่ได้รับพบว่าผู้เรียนมีผลการเรียนก่อนและหลัง การศึกษาสื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนในรายวิชา 5672501 การวิเคราะห์และออกแบบ เชิงวัตถุที่สร้างขึ้นแตกต่างกัน โดยเฉลี่ย 8.44 คิดเป็นร้อยละ 39.2 (2)ในด้านของการประเมิน ความพึงพอใจพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับการเรียนการสอนในลักษณะนี้ ทำให้นักศึกษาสะดวก ต่อการเข้าไปเรียนรู้และมีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาสูงที่สุด คิดเป็นระดับความ พึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.22 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก

 

The Development Instructional Media for Course 5672501 Object-Oriented Analysis and Design

The purposes of this research were to develop instructional media for a course in objectoriented analysis and design (course code 5672501), to investigate the efficiency of the instructional media by evaluation of students’ increase in knowledge, and to assess their satisfaction with the instructional media. The research population consisted of 27 software engineering BSc students who studied the module Object-Oriented Analysis and Design in semester 2/2010 at Lampang Rajabhat University. In this research, the development of instructional media, evaluation of students’ knowledge before and after use of the instructional media, and assessment of their satisfaction were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

The research has two results (1) students’ academic performance increased after the study by an average of 8.44 (39.2%) (2) students’ satisfaction was at a level of 4.22 (very high).

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย