การสร้างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Authors

  • นิโรจน์ ไทยทอง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราชธานี 272 ถ. สุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100 โทรศัพท์ : 0-7735-5466 , 0-7791-3333 โทรสาร : 0-7735-5468

Keywords:

แผ่นแม่บท, เทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, Master Plan, Information Technology, Rajabhat University

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพระบบและการบริหารจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัย ราชภัฏและ 3) ประเมินแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร จำนวน 16 คน ผู้รับผิดชอบเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 16 คนและผู้ใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 562 คน จากมหาวิทยาลัยกลุ่ม ตัวอย่าง 16 มหาวิทยาลัย

ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมเห็นว่าข้อมูลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่จริง เพียงพอปานกลาง ด้านซอฟต์แวร์เพียงพอมากที่สุด ด้านข้อมูลเพียงพอมาก ด้านฮาร์ดแวร์เพียงพอ ปานกลางส่วนด้านบุคลากรและด้านงบประมาณเพียงพอน้อย ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบ และใช้บริการ เห็นว่า สภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศพอเพียงปานกลางและในภาพรวม มีความพึงพอใจ สภาพการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศปานกลาง

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏมี 8 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมา ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่สังคม ยุทธศาสตร์การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ยุทธศาสตร์การ พัฒนาศักยภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับ ความต้องการในการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมศักยภาพบุคลากรของมหาวิทยาลัยด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี

ผลการประเมินความเหมาะสมโดยใช้แบบสอบถามพบว่า ร่างแผนแม่บทเทคโนโลยี สารสนเทศมีความเหมาะสมปานกลาง ส่วนผลการประเมินโดยการสนทนากลุ่มพบว่าร่างแผน แม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเหมาะสมมาก และผลการประเมินความเป็นไปได้โดยการ สนทนากลุ่มพบว่า ร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความเป็นไปได้มากโดยทุกยุทธศาสตร์มีความเป็นไปได้ระดับมาก ยกเว้นยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อส่งเสริมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยมีความเป็น ไปได้ปานกลาง

 

Creation of Master Plan for Rajabhat University’s Information Tchnology

The purposes of this research were to study the systems for and the management of information technology at Rajabhat Universities and to create and evaluate a master plan for the universities’ information technology. Research data were collected from 16 administrators, 16 IT personnel and 574 users from 16 target universities.

The research results revealed that data on existing IT systems was overall at a moderate level but software and information was found at the highest level. Adequate hardware was found at a moderate level, while adequate personnel and budgets were found at a low level. IT systems and management system were also judged to be at a moderate level.

The master plan for IT at Rajabhat universities consists of eight strategies. These were to: develop basic IT infrastructure; implement information technology to increase the efficiency of university management; promote the use of IT to increase the potential of disseminating knowledge to society; employ IT to promote university research in order to become research universities; promote and develop teaching through IT; develop graduates’ knowledge of IT in line with the country’s development; promote human resource utilization of IT; and develop strategies for good IT management.

Having evaluated the results obtained by the questionnaires, the appropriateness of the draft master plan for IT was judged to be at a moderate level. However, having evaluated the focus group discussion, this was raised to a high level. The focus group discussion also showed that the draft master plan was highly possible overall, as were the individual strategies, with the exception of the fourth strategy regarding the use of IT to promote the universities’ research, which was at a moderate level.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย