ผลกระทบของมาตรการความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ต่อผลิตภาพของงานฉาบปูนผนัง

Authors

  • สุนันท์ มนต์แก้ว
  • ธวัชชัย นวเลิศปัญญา
  • วรรณวิทย์ แต้มทอง

DOI:

https://doi.org/10.14456/itjlp.2015.3

Keywords:

ความปลอดภัย, ระบบความปลอดภัย, ผลิตภาพของงานฉาบปูน, Safety, Safety system, Productivity of plastering

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างที่มีผลต่อผลิตภาพแรงงาน โดยเลือกกรณีศึกษางานฉาบปูนผนังภายนอกของการก่อสร้างอาคารพานิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร มาตรการความปลอดภัยสำหรับงานฉาบปูนผนังภายนอกที่นำมาใช้ประกอบด้วย (1) นั่งร้านมีความมั่นคงแข็งแรง (2) ทางเดินบนนั่งร้าน สะอาด และไม่ลื่น (3) ติดตั้งราวกันตกสูงไม่น้อยกว่า 0.90 เมตร ตลอดแนวยาวด้านนอกของนั่งร้าน (4) ติดตั้งตาข่ายรอบนอกของนั่งร้าน (5) กั้นเขตแสดงเขตพื้นที่ทำงาน (6) ติดตั้งบันไดขึ้น – ลง สำหรับทำงาน (7) การทำงานบนนั่งร้านหลายชั้นพร้อมกัน ต้องจัดทำสิ่งป้องกันอันตรายต่อผู้ที่ทำงานอยู่ด้านล่าง (8) อุปกรณ์ – เครื่องมือ ในการลำเลียงวัสดุต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และ (9) ต้องจัดให้คนงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการทำงาน การนำมาตรการความปลอดภัยมาใช้ พบว่า ค่าผลิตภาพแรงงานของงานฉาบปูนผนังภายนอกอาคาร มีค่าเฉลี่ย 1.16 ตร.ม./คน/ชม. หลังจากนำมาตรการมาใช้ มีค่าเฉลี่ย 1.13 ตร.ม./คน/ชม. ลดลงประมาณร้อยละ 3 จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ความหนาของปูนฉาบทั้งก่อนและหลังนำมาตรการความปลอดภัยในการทำงานมาใช้ มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยกเว้นผนังอาคารบางส่วน มีความหนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม หากไม่นำผนังที่ฉาบปูนหนากว่า 1.5 เซนติเมตร มาพิจารณา พบว่า ทั้งก่อนและหลังจากนำมาตรการมาใช้ มีค่าผลิตภาพแรงงานเท่ากัน มีค่าเฉลี่ยประมาณ 1.16 ตร.ม./คน/ชม. แสดงว่ามาตรการความปลอดภัยในการทำงาน ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าผลิตภาพแรงงาน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าผลิตภาพแรงงานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ ปัจจัยเนื่องจากกิจกรรมงานก่ออิฐที่ทำมาก่อนงานฉาบปูนผนัง ทำไม่ได้คุณภาพ เช่น ไม่ได้ดิ่งและไม่ได้แนว

The Effect of Safety Measures on the Productivity of Wall Plastering.

The purpose of this research was to study the effect of safety measures on the productivity of external wall plastering during the construction of commercial buildings. The safety measures consisted of (1) a stable scaffolding system, (2) a clean, non-slip walkway on the scaffold, (3) the installation of handrails not less than 0.90 meters in height alongside the scaffolding, (4) the placement of safety nets along the outside perimeter of the scaffolding, (5) the zoning of the work area, (6) the installation of stairs, (7) safety protection for workers on multi-storey scaffolding, (8) ensuring that all tools and equipment for transporting materials were kept in good condition, and (9) provision of personal protective equipment for workers. The results showed that before the implementation of safety measures, the rate of wall plastering was 1.16 m2/person/hr. After the implementation, the productivity rate was 1.13 m2/person/hr indicating a 3% decline in productivity. However, it was found that although the average thickness of the wall prior and after the implementation of safety measures was 1.5 cm, some areas were found to be around 2.5 cm thick and taking this into account, the rate of plastering before and after the implementation of safety measures was approximately eqyal. This indicates that the implementation of safety measures did not redcue the productivity of the plasterers. A factor that did affect the productivity of plastering was the poor quality of bricklaying, which was not well aligned or plumbed.

Downloads

Published

2015-07-01