6. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการจัดการเรียนการสอน ในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

Authors

  • ภาณุวัฒน์ วรพิทย์เบญจา
  • จำรัส กลิ่นหนู
  • ณรงค์ศักดิ์ ศรีสม

DOI:

https://doi.org/10.14456/itjlp.2015.16

Keywords:

ห้องเรียนเสมือนจริง, การจัดการเรียนการสอน, อุปกรณ์เคลื่อนที่, Virtual Classrooms, Learning Managements System, Mobile Device

Abstract

บทความนี้นำเสนอแอพพลิเคชั่นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของระบบบริหารจัดการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECLMS) ให้สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟนหรือ    แท็บเล็ตได้ แอพพลิเคชั่นถูกพัฒนาในลักษณะ Responsive Web Design โดยนำวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มาเป็นแนวทางในการพัฒนา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนทุ่งผึ้ง สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลําปางเขต 3 จํานวน 30 คน จากจํานวนทั้งสิ้น 17 กลุ่มเครือข่าย และครูผู้สอนจำนวน 15 คน ผลการทดลองพบว่าแอพพลิเคชั่นสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนักเรียนใช้แอพพลิเคชั่นในการทบทวนเนื้อหาวิชาเรียนนอกเหนือจาก  การเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจและสามารถจดจำเนื้อหาวิชาเรียนได้ดียิ่งขึ้นโดยผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ทดลองใช้แอพพลิเคชั่น ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.10 จาก 5.00 และความพึงพอใจของครูผู้สอนที่ทดลองใช้แอพพลิเคชั่นในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.09 จาก 5.00

The Development Learning Managements System Application of Virtual Classrooms on Mobile Device.

This article presents the application of learning management system of virtual classroom on mobile devices. To solve the limits of OBECLMS developed by Office of the Basic Education Commission of Thailand for use on mobile devices. Application was developed in Responsive Web Design by use the system development life cycle (SDLC) as a guideline for development. The sample used in this research selected by Cluster Random sampling is student Grade sixth 30 people at the Tungpheung schools network group. Under lampang primary education service area 3. From a total of 17 schools network group and teachers of 15 people. The results showed application can use on mobile devices more efficiently. When student use application to review the course content in addition to teaching in regular classes. Help students understand course content and to remember better. The overall satisfaction of student for use applications was high. Average of 4.10 from 5.00. And the overall satisfaction of teachers for use applications was high. Average of 4.09 from 5.00.

Downloads

Published

2015-12-26