6. การศึกษาความเหมาะสมของดินในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เพื่อใช้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา
Keywords:
ความเหมาะสมของเนื้อดิน, เพื่อใช้ผลิตเครื่องดินเผา, The suitability of the clay, To produce potteryAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพดินในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อทดลองหาอัตราส่วนของเนื้อดินปั้น จากอัตราส่วนผสมระหว่างดินในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว และดินเหนียวตำบลโคกไม้ลาย จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อใช้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา
โดยการทดสอบสมบัติทางกายภาพดินในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 ตำบล เผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศออกซิเดชันและทดสอบทางกายภาพ พบว่า ดินตำบลศาลาลำดวนมีความเหมาะเพื่อนำไปหาอัตราส่วนผสม ในการเตรียมเนื้อดินเนื่องจากมีสมบัติทางกายภาพที่ดี และการทดสอบหาอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นคัดเลือกแบบเจาะจงจากการคำนวณแบบไบแอคเชียสเบลนด์ วัตถุดิบที่ใช้ คือ ดินตำบลศาลาลำดวน และดินเหนียวตำบลโคกไม้ลาย จำนวน 9 ตัวอย่าง เผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศออกซิเดชันและทดสอบทางกายภาพ พบว่า อัตราส่วนผสมที่มีความเหมาะสมที่สุด สำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้และมีสมบัติทางกายภาพที่ดี คือ ตัวอย่างที่ 3 มีส่วนผสมของดินดินตำบลศาลาลำดวน ร้อยละ 70 และดินเหนียวตำบลโคกไม้ลาย ร้อยละ 30 มีการทรงตัวที่ดีในขณะ ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ และหลังการเผาเนื้อดินมีความแข็งแกร่ง เนื้อดินมีสีน้ำตาลแดง
A Study of the Suitability of Clay from Muang, Sakaeo Province, for the Manufacture of Pottery.
This research studies clay from Muang District, Sakaeo province and the sub-district of Kok Mai Lai, Prachinburi province, in particular 1) its physical properties and 2) the appropriate ratio of clay body for the making of pottery.
Samples of clay from 8 districts in Muang district, Sakaeo province were fired at 1200 degrees Celsius in an oxidation atmosphere and tested. The findings show that the clay from Salalamduan sub-district was the most suitable as it has the right physical properties. A selection of 9 mixtures of clay from Salalamduan sub-district and Kok Mai Lai sub-district was fired at 1200 degrees Celsius in oxidation atmospheres and tested. The best ratio for the producing pottery consisted of 70% clay from Salalamduan sub-district and 30% clay from Kok Mai Lai sub-district. This mixture was stable during the shaping process and after firing, the colour changed to auburn and the clay was strong.