10. การพัฒนาชุดเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัว

Main Article Content

ยุทธนา ไวประเสริฐ
พงษ์สวัสดิ์ อำนาจกิติกร
นราธิป วงษ์ปัน
วีรชัย สว่างทุกข์
ณัฐสินี ตั้งศิริไพบูลย์
ธนวรกฤต โอฬารธนพร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาโหลดอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัว สำหรับการทดสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้า เครื่องขยายเสียง วิทยุสื่อสาร หรือวงจรต่าง ๆ โดยจะต่อวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ากับโหลดอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัว ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้สมองกลฝังตัว เบอร์ ATmega328 เป็นตัวควบคุมการทำงานทั้งหมดของงานวิจัยซึ่งจะส่งสัญญาณพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่นมาควบคุมโหลดอิเล็กทรอนิกส์ให้นำกระแสมากหรือน้อยตามสัญญาณพัลส์ และยังมีตัวตรวจจับกระแส, ตัวตรวจจับแรงดัน และตัวตรวจจับอุณหภูมิมาทำการวัดเพื่อรายงานผลให้ผู้ใช้ได้ทราบผ่านจอแสดงผลแบบผลึกเหลวผลการทดสอบประสิทธิภาพโหลดอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัวสามารถทดสอบกับแหล่งจ่ายขนาด 30 โวลต์ กระแส 22.97 แอมป์ หรือคิดเป็นกำลังงานเท่ากับ 689.04 วัตต์ ซึ่งสูงกว่าขอบเขตที่กำหนด การผลิตสัญญาณพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่นมีความแม่นยำ ร้อยละ 99.99 การวัดกระแสมีความแม่นยำร้อยละ 98.2 การวัดแรงดันมีความแม่นยำร้อยละ 99.37 การวัดอุณหภูมิมีความแม่นยำร้อยละ 82.22 เนื่องจากคุณสมบัติของตัวเทอร์มิสเตอร์ที่ถูกสร้างจากโลหะสองชนิดที่แตกต่างกัน ที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงต่ออุณหภูมิต่ำ 

The Development of Electronic Circuit Interface Controlled by Embedded System


This research is the development of an electronic load controlled by embedded system for power supply circuits in amplifier, communication radio or other electronic circuits. An electronic load is attached to electronic circuits. The ATmega328 is used to control all the electronic functions and to send a pulse width modulation to control pulsing signal. It is also used to monitor flow sensor, pressure sensor and temperature sensor and report back to the users via a liquid crystal display. The performance test showed that an electronic load used with power supply 30 volt/22.97 amps could generate up to 689.04 watts. The accuracy of a pulse width modulation is at 99.99%, the current measurement is at 98.2%, the voltage measurement is at 99.37%, and temperature measurement is at 82.22%. These are due to the properties of the thermistor from two different metals. Each is sensitive to changes in temperature.

Article Details

Section
บทความวิจัย