15. การออกแบบและพัฒนาชุดเครื่องประดับสตรี จากแร่เหล็กน้ำพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์

Authors

  • อังกาบ บุญสูง

Keywords:

การออกแบบและพัฒนา, ชุดเครื่องประดับ, แร่เหล็กน้ำพี้, จังหวัดอุตรดิตถ์, Design and Development, Evaluation, Furniture Design, Teak

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตของแร่เหล็กน้ำพี้ ที่นำมาพัฒนาชุดเครื่องประดับสตรี ตามศักยภาพของกลุ่มผู้ผลิตในชุมชน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดเครื่องประดับสตรีจากแร่เหล็กน้ำพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้จำหน่ายและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบของชุดเครื่องประดับสตรีจากแร่เหล็กน้ำพี้ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิต จำนวน 122 คน ผู้จำหน่าย จำนวน 34 คน และผู้ซื้อ จำนวน 150 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการบรรยายผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ผลิตมีศักยภาพในการทำชุดเครื่องประดับสตรีจากแร่เหล็กน้ำพี้ โดยใช้ส่วนผสมของผงแร่เหล็กน้ำพี้ในอัตราส่วน 1 ส่วน ต่อดินหนองปล้อง 2 ส่วน สามารถนำมาขึ้นรูปได้ตามต้องการ ในส่วนของการออกแบบผู้ซื้อมีความต้องการเครื่องประดับแบบชุด ที่ปรับใช้ตามโอกาสต่าง ๆ และมีความเรียบง่าย จากผลการวิเคราะห์จึงนำมาสู่การออกแบบเพื่อพัฒนารูปแบบ โดยศึกษาแนวคิดจากลักษณะเครื่องประดับที่ดี ซึ่งประกอบด้วยความสัมพันธ์กันระหว่างแบบและวัสดุ มีความงามและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง แบบเรียบง่ายไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ราคาไม่สูงจนเกินไป เสริมบุคลิกภาพของผู้ใช้ให้ดีขึ้น ทำความสะอาดง่าย และมีความสมดุลกันในรูปทรง โดยกำหนดขนาดของเครื่องประดับจากข้อมูลสัดส่วนร่างกายหญิงไทยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากนั้นทำการสรุปผลข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคและจัดทำต้นแบบชุดเครื่องประดับ โดยเน้นการผลิตที่ไม่ซับซ้อนเพื่อให้กลุ่มผู้ผลิตสามารถผลิตได้จริงตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 792/2548 ผลิตภัณฑ์แร่เหล็กน้ำพี้ จากนั้นนำชุดเครื่องประดับต้นแบบ จำนวน 6 รูปแบบ ไปสอบถามความพึงพอใจต่อกลุ่มผู้ซื้อ ซึ่งผลสรุปจากกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ( = 4.2) ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุดเครื่องประดับสตรีจากแร่เหล็กน้ำพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ได้

Design and Development of Women’s Jewelry Made From Namphi Steel


The objectives of this research are to: 1) study the amount of Namphi steel used in making jewelry, as well as the production processes deployed by local producers in the community; 2) design and develop women’s jewelry made from Namphi steel originating in Uttaradit province; and 3) study distributors’ and consumers’ satisfaction with these products. Purposive sampling was used in the study to select 122  anufacturers of Namphi steel products, 34 distributors who sell Namphi steel products in Uttaradit province, and 150 consumers who regularly buy or use Namphi steel jewelry. Questionnaires and interview were used to collect data, which were then analyzed by means of descriptive explanation and numerical analysis of percentage, average and standard deviation.

The results show that producers combined Nampi steel powder with Nongplong clay at a ratio of 1:2 to create a mold. Consumers also preferred women’s jewelry with simple designs which could be used on a variety of different occasions. Consumers’ opinions were used as a guideline for product design and development. It was found that good jewelry requires compatibility between design and material, beauty, practicality, simplicity, safety, affordability, the ability to enhance the wearer’s personality, ease of cleaning and a balanced shape. The size of the accessories was in accordance with the normal size of Thai women following an industrial product standard. In line with the gathered opinions, a prototype of a jewelry set was developed that was easy for manufacturers to reproduce and which met the Thai Industrial Standards Institute production standards (TISI: 792/2548, Numphi steel products). The prototype was then tested by consumers and their level of satisfaction was assessed. This was at a good level (4.2), which shows that women’s jewelry could add value to Namphi steel from Uttaradit province.

Downloads

Published

2016-12-19