อิทธิพลของความเร็วรอบและระยะกดอัดที่ส่งผลต่อการเชื่อมเสียดทานของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็ง SSM 6061
Keywords:
การเชื่อมเสียดทาน, อะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็ง SSM 6061, ความเร็วรอบ, Friction welding, SSM 6061 Aluminum Alloy, Rotation SpeedAbstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาคของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็ง เกรด SSM 6061 ด้วยกระบวนการเชื่อมเสียดทาน จากการทดลองพบว่าอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็งสามารถยึดติดได้ดีในทุกการทดลอง ค่าความแข็งแรงดึงสูงสุดอยู่ที่ 126.88 MPa ซึ่งมาจากตัวแปรที่ความเร็วรอบ 1310 รอบต่อนาที และระยะกดอัดที่ 3 มิลลิเมตร เวลาในการกดแช่ 15 วินาที และบริเวณรอยเชื่อมมีค่าความแข็งสูงสุดเฉลี่ย อยู่ที่ 55.05 HV ความแข็งของชิ้นงานหลังการเชื่อมในทุกการทดลองไม่แตกต่างกันมาก บริเวณเนื้อเชื่อม และบริเวณที่ได้รับผลกระทบของความร้อนมีโครงสร้างจุลภาคที่เปลี่ยนไปจากโครงสร้างเดิมของวัสดุ เนื่องจากเกิดจากความร้อนและแรงกดอัดในขณะเชื่อมเสียดทาน ทำให้โครงสร้างเปลี่ยนแปลง โครงสร้างบริเวณเนื้อเชื่อมเกิดการแตกหักแบบเปราะของธาตุผสม ส่งผลให้มีขนาดที่เล็กและกระจายตัวทั่วบริเวณเนื้อเชื่อม
The Influence of Rotation Speed and Burn-off Length Affecting Friction Welding of SSM 6061 Aluminum Alloy
The objective of this research was to study the effects of rotation speeds and burn-off length of the mechanical and microstructural properties of SSM 6061 aluminum alloy by friction welding. In all the experiments, it was found that the samples can adhere well together. The maximum average tensile strength was 126.88 MPa which was obtained with a rotational speed of 1310 rpm, burn-off length of 3 mm and a 15 minute holding time. In the welded areas, the maximum hardness was 55.05 HV with similar values found in all the experiments. Moreover, in welded and thermal mechanical affected zones, changes of the microstructure due to heat input and friction force during the friction welding process were observed, welding of the material was brittle throughout the welded area.