การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอาร์ตทอยจากอัตลักษณ์ทุนวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก, ทุนวัฒนธรรม, อาร์ตทอย, อัตลักษณ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอาร์ตทอยจากอัตลักษณ์ทุนวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากทุนวัฒนธรรม เพื่อการสร้างคุณค่าและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชียงรายเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอาร์ตทอยจากทุนวัฒนธรรม เพื่อการสร้างคุณค่าและส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชียงรายเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อทดลองตลาดผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอาร์ตทอยสำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและกระแสนิยมในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทอาร์ตทอยของกลุ่มนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน โดยมีรูปแบบวิธีวิจัยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research หรือ MMR) ซึ่งเป็นการผสมผสานการเก็บข้อมูลวิจัยหลายวิธี โดยในงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เริ่มต้นด้วยสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ทุนวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ เข้ากับกระแสนิยมและแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส่วนที่ 2 นำผลวิเคราะห์ที่ได้มาสร้างอัตลักษณ์ที่ใช้สำหรับออกแบบพัฒนาคาแรคเตอร์อาร์ตทอยจากทุนวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จนทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอาร์ตทอยจากการใช้แนวคิดต้นแบบบุคลิกทั้ง 12 ต้นแบบ ในหลักการ Brand Archetype มาสร้างคาแรคเตอร์ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มทุนวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย ที่กลุ่มผู้บริโภคสนใจและรับรู้ผ่านการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย กลุ่มที่ 1 กลุ่มธรรมชาติและงานสถาปัตยกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย กลุ่มที่ 2 กลุ่มชาติพันธุ์ (ชนเผ่า) และกลุ่มที่ 3 กลุ่มความเชื่อ วรรณคดี และตำนาน จำนวนทั้งหมด 21 รูปแบบ โดยได้ผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอาร์ตทอยออกมาจำนวนทั้งสิ้น 1,500 ต้นแบบ เพื่อทำการจำหน่ายและทดลองตลาดในงาน Chiangrai Biennale 2023 ที่จังหวัดเชียงรายเป็นเจ้าภาพ โดยมีผลประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอาร์ตทอย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมที่ 4.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
References
Hetayothin, C. (2021). Guideline for Character Design: A Case Study of ‘Character Design Challenge’. Asian Creative Architecture, Art and Design: ACAAD, 32(1), 1-15.
Mark M., and Pearson, C. S. (2001). The Hero and the Outlaw: Building Extraordinary Brands Through the Power of Archetypes. McGraw-Hill.
Nakson, A. (2015). The Art of Industrial Crafts Design. Triple Group.
Nammueang, C. (2008). Cultural Capital in Thai culture. Nawasan Printing Co., Ltd.
Pearson, C. S. (2015). Awakening the Heroes Within: Twelve Archetypes to Help Us Find Ourselves and Transform Our World. HarperSanFrancisco.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยสารบูรณาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมประยุกต์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.