อิทธิพลของพลาสติไซเซอร์ต่อการต้านแรงดึง การซึมผ่านของน้ำมัน และความสามารถในการละลายของฟิล์มโปรตีนถั่วเขียว
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลของพลาสติไซเซอร์ต่อสมบัติทางกายภาพของฟิล์มโปรตีนถั่วเขียว โดยใช้ พลาสติไซเซอร์ 3 ชนิด คือ กลีเซอรอล ซอร์บิทอล และโพลีเอทธิลีนไกลคอล และแปรอัตราส่วนปริมาณโปรตีนถั่วเขียวต่อปริมาณพลาสติไซเซอร์ เป็น 3 ระดับ คือ 70:30, 60:40 และ 50:50 พบว่าฟิล์มที่ผลิตโดยใช้ โพลีเอทธิลีนไกลคอลไม่สามารถขึ้นรูปได้ทุกอัตราส่วน ฟิล์มมีลักษณะเปราะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ ขณะที่ฟิล์มซึ่งผลิตโดยใช้กลีเซอรอลและซอร์บิทอล สามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มได้ทุกอัตราส่วน เมื่อนำไปวัดความหนา การต้านแรงดึง การซึมผ่านของน้ำมัน และความสามารถในการละลาย พบว่าฟิล์มมีความหนาไม่แตกต่างกัน ค่าการต้านแรงดึงลดลงเมื่อปริมาณพลาสติไซเซอร์เพิ่มขึ้น สามารถต้านทานการซึมผ่านของน้ำมันได้มากกว่า 90 วัน ยกเว้นฟิล์มที่ผลิตด้วยอัตราส่วนผสมของโปรตีน ถั่วเขียวต่อซอร์บิทอลที่ระดับ 50:50 สำหรับความสามารถในการละลายน้ำนั้น เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณ พลาสติไซเซอร์
Effects of Plasticizers on Tensile Strength, Oil Resistance
and Solubility of Mung Bean Protein Films
The aim of this research was to study the effects of plasticizers on physical properties of mung bean protein film. The mung bean protein films were produced from three different plasticizers namely glycerol, sorbitol and polyethylene glycol with varying ratios of mung bean protein to each plasticizer as 70:30, 60:40 and 50:50. All polyethylene glycol plasticized mung bean protein films could not be formed due to their brittleness, while glycerol and sorbitol plasticized films were formed well regardless of the mung bean protein to plasticizer ratio. Then, thickness, tensile strength, oil resistance and solubility of glycerol and sorbitol plasticized films were determined. The result showed that the thickness of all films was not different. The result showed that increasing plasticizer contents were associated with a decreasing tensile strength. Oil resistance of all films was longer than 90 days except 50:50 of sorbitol plasticized mung bean protein films. Water solubility of plasticized films was higher when increasing plasticizer contents.
Article Details
Copyrights of all articles in the Journal of Food Technology available in print or online are owned by Siam University and protected by law.