ผลของฟิล์มไคโตแซนผสมสารโซเดียมเบนโซเอตต่อการยืดอายุการเก็บรักษามะละกอ
Main Article Content
Abstract
มะละกอเป็นผลไม้ที่มีปริมาณเบต้าแคโรทีน และปริมาณเส้นใยสูง มีอัตราการหายใจแบบ Climacteric ที่มีการสร้างเอธิลีนขึ้น จึงทำให้เกิดการสุกและเสื่อมเสียด้วยเชื้อจุลินทรีย์ได้ง่าย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษามะละกอโดยเปรียบเทียบวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน คือ มะละกอที่หุ้มด้วยฟิล์ม ไคโตแซน (Chitosan Wrapped: WC), มะละกอที่เคลือบสารเคลือบไคโตแซน (Chitosan Coated: CC), มะละกอที่หุ้มด้วยฟิล์มโพลิเอธิลลีน (Polyethylene Wrapped: WP) เปรียบเทียบกับมะละกอที่ไม่ได้หุ้มด้วยฟิล์มใดๆ (Control) โดยแบ่งส่วนของมะละกอที่ใช้ในการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและ จุลินทรีย์ออกเป็น 3 ส่วน คือ ขั้วผล กลางผลและปลายผล พบว่าเมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นมะละกอที่เก็บด้วยวิธี CC และ WC จะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็งลดลงและมีค่าสีเขียวลดลงน้อยกว่า PE ในทุกๆ ส่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยฟิล์ม WC จะให้ลักษณะปรากฏที่ดีที่สุด ส่วนปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด พบว่า WC มีปริมาณลดลงน้อยกว่าสิ่งทดลองอื่นๆ เมื่อนาฟิล์ม ไคโตแซน (WC) ผสมสาร Sodium Benzoate เปรียบเทียบที่ระดับความเข้มข้นเท่ากับ 50 และ 100 ppm พบว่าระยะเวลาเก็บนานขึ้นอัตราการแพร่ของสาร Sodium Benzoate ที่ระดับความเข้มข้น 50 ppm จะเพิ่มมากกว่า 100 ppm สามารถลดปริมาณ จุลินทรีย์ลง และให้ลักษณะด้านเนื้อสัมผัสแข็งและสีเขียวของผลมะละกอคงอยู่มากกว่ามะละกอที่ไม่ได้หุ้มด้วยฟิล์มใดๆ และการหุ้มด้วยฟิล์ม ไคโตแซนผสมสาร Sodium Benzoate ที่ระดับความเข้มข้น 50 ppm จะสามารถยืดอายุการเก็บของผลมะละกอได้มากกว่า 14 วันที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส
Effect of Chitosan Film Incorporated with Sodium Benzoate on Shelf Life Extension of Papaya
Papaya contains the highest concentration of -carotene and fiber content. During its ripening process, such climacteric fruit as papaya undergoes rapid degreening of its skin, ethylene production and flesh softening, which easily affect the growth of microorganisms. In this research, we aimed to prolong the shelf life of papaya by investigating the three keeping methods, which were wrapping with either polyethylene film (CW) and direct coating with 1.5% chitosan solution (CC) using uncoated papaya sample as a control. Physicochemical properties examined in three parts of papaya (top, middle and bottom) upon increasing its shelf life showed significant effect on hardness and degreening values of those CC and CW as compared to PE. It was shown that wrapping with chitosan film resulted in the best appearance property and the least microbial growth. Furthermore, prolonged shelf life of papaya was compared in CW mixed with either 50 ppm or 100 ppm sodium benzoate. Better diffusibility property when using 50 ppm sodium benzoate was observed, which promoted greater reduction of microorganisms, and enhanced prolonging the shelf life of papaya more than 14 days with promising advantages in terms of hardness and degreening values.
Article Details
Copyrights of all articles in the Journal of Food Technology available in print or online are owned by Siam University and protected by law.