การพัฒนากระดาษลามิเนตด้วยฟิล์มไคโตแซนต่อการขึ้นรูปกล่องบรรจุอาหาร

Main Article Content

ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ
วรรณิศา กิจไธสง

Abstract

ศึกษาฟิล์มไบโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากไคโตแซนที่ระดับ 80 % Degree of deacetylation ในสารละลายกรดฟอร์มิกความเข้มข้นร้อยละ 1 เปรียบเทียบชนิดและสัดส่วนของพลาสติกไซเซอร์ คือ กลีเซอรอล พอลิ เอทธิลีน ไกลคอล และซอร์บิทอล ที่ความเข้มข้นรวมร้อยละ 1 พบว่าคุณสมบัติทางกายภาพของฟิล์ม ไคโตแซนที่เติมกลีเซอรอลจะให้ลักษณะทางกายภาพทุกด้านดีที่สุด โดยให้ค่าความหนาอยู่ในช่วงเฉลี่ยเท่ากับ 0.024-0.056 มิลลิเมตร มีค่าต้านทานแรงดึงเท่ากับ 70.09 MPa ให้ค่าแรงยืดตัวสูงสุดเท่ากับร้อยละ 4.39 และมีประสิทธิภาพในการต้านทานน้ำมันได้มากกว่า 30 วัน เมื่อนำฟิล์มมาศึกษาชนิดของกาวจากแป้งมันสำปะหลังดัดแปรทางการค้าคือ SMS-GSA, Amylock A และแป้งมันสำปะหลังทางการค้าที่ไม่ผ่านการดัดแปรที่ความเข้มข้นของกาวแต่ละชนิดที่ร้อยละ 3, 3.5 และ 4 ตามลำดับ พบว่ากาวจากแป้งมันสำปะหลังดัดแปรทางการค้าคือ SMS-GSA ความเข้มข้นร้อยละ 3.5 สามารถลามิเนตยึดติดฟิล์มไคโตแซนที่เติม กลีเซอรอลกับวัสดุกระดาษได้ดีที่สุด โดยสามารถขึ้นรูปกล่องบรรจุอาหาร โดยไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุอาหารจากฟิล์มสังเคราะห์พอลิเอทธิลีน และเมื่อประเมินทางประสาทสัมผัส พบว่าให้คะแนนการยอมรับโดยรวมสูงสุดเท่ากับ 7.73 ซึ่งแสดงถึงความชอบในระดับปานกลางถึงมาก

 

Development of Chitosan Film Laminated with Paper material for Food Packaging forming

The study of 80 %Degree of deacetylation of chitosan in 1% formic acid solution and plasticizers compared types and ratio of glycerol: sorbitol: polyethylene glycol at 1% of total concentration. The result showed that chitosan solution incorporated with 1% glycerol gave the best film physical properties, which included the thickness between 0.03-0.05 mm, tensile strength of 70.09 MPa with elongation of 4.39% and oil resistance of more than 30 days. The commercial adhesive included modified tapioca starch of SMS-GSA and Amylock-A were compared with control (commercial non-modified tapioca starch) at the concentration of 3, 3.5 and 4%. It was found that 3.5 % of SMS-GSA showed complete lamination between chitosan film and paper and showed no significant difference (p>0.05) in term of appearance when compared with polyethylene laminated paper. It also received the highest overall acceptance score at 7.73 point which indicates that the container was liked moderately to like very much.

Article Details

How to Cite
ศิริเลิศ ธ., & กิจไธสง ว. (2015). การพัฒนากระดาษลามิเนตด้วยฟิล์มไคโตแซนต่อการขึ้นรูปกล่องบรรจุอาหาร. Journal of Food Technology, Siam University, 6(1), 55–63. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JFTSU/article/view/38412
Section
บทความวิจัย (Research Articles)