ผลของแอมโมเนียมไนเตรท โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต และโพแทสเซียมซัลเฟต ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสาร 1′ - Acetoxychavicol Acetate (ACA) ภายในข่า

Authors

  • คงเอก ศิริงาม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สรัญญา วัชโรทัย รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เฉลิมพล เกิดมณี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Keywords:

ธาตุอาหารพืช, สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ, ข่า, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, Plant nutrition, Bioactive compound, Galangal, Tissue culture

Abstract

ข่าเป็นพืชล้มลุกหลายฤดูที่สามารถผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพภายในเหง้าได้หลายชนิด สาร 1′- Acetoxychavicol Acetate (ACA) เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดหนึ่งที่พบในข่า สารชนิดนี้ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของวัณโรค อย่างไรก็ตาม ปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมีความสัมพันธ์กับการผันแปรของปัจจัยทางสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารพืช ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทดลองนี้ คือ ศึกษาผลของแอมโมเนียมไนเตรท โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต และโพแทสเซียมซัลเฟต ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสาร ACA ภายในข่า ที่เพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ โดยทำการเพาะเลี้ยงต้นข่าบนอาหารเพาะเลี้ยงสูตร Murashige and Skoog (1962) ดัดแปลง ที่มีความเข้มข้นของแอมโมเนียมไนเตรท 21 และ 31 มิลลิโมลาร์ โซเดียมไดไฮโดรเจน ฟอสเฟต 1 และ 2 มิลลิโมลาร์ และโพแทสเซียมซัลเฟต 11 และ 16 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ จากการ ศึกษาพบว่า ต้นข่าที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่มีความเข้มข้นของแอมโมเนียมไนเตรท 31 มิลลิโมลาร์ โซเดียมได ไฮโดรเจนฟอสเฟต 1 มิลลิโมลาร์ และโพแทสเซียมซัลเฟต 11 มิลลิโมลาร์ มีอัตราการเจริญเติบโตของราก สูงสุด ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตของต้นข่าสูงสุดเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารที่มีความเข้มข้นของแอมโมเนียม ไนเตรท 21 มิลลิโมลาร์ โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 2 มิลลิโมลาร์ และโพแทสเซียมซัลเฟต 16 มิลลิโมลาร์ และต้นข่าที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่มีความเข้มข้นของแอมโมเนียมไนเตรท 21 มิลลิโมลาร์ โซเดียมไดไฮโดรเจน ฟอสเฟต 2 มิลลิโมลาร์ และโพแทสเซียมซัลเฟต 11 มิลลิโมลาร์ มีอัตราการเจริญเติบโตของเหง้าและปริมาณ สาร ACA สูงสุด (25.9 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งเหง้า) นอกจากนี้จากผลการทดลองยังแสดงให้ เห็นว่าการเจริญเติบโตของเหง้าข่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณสาร ACA ในเหง้าข่า

 

Effect of NH4NO3, NaH2PO4 and K2SO4on growth and 1′ - Acetoxychavicol Acetate (ACA) in galangal (Alpinia galanga (Linn.) Swartz)

Galangal is an herbaceous perennial plant which produces various bioactive compounds in rhizome. The 1′- Acetoxychavicol Acetate (ACA) was a bioactive compound found in galangal, this compound inhibited the growth of Mycobacterium tuberculosis that caused the tuberculosis (TB). However, the bioactive compound content in plant depended on variation of the environmental factors particularly plant nutrition. Therefore, the aim of this research was to evaluate the effect of NH4NO3, NaH2PO4 and K2SO4 on growth and ACA content under in vitro condition. Galangal plantlets were cultured in vitro on modified Murashige and Skoog (1962) medium supplemented with 21 or 31 mM NH4NO3, 1 or 2 mM NaH2PO4 and 11 or 16 mM K2SO4 for 5 weeks. The result showed that the rate of root growth of galangal plantlets was highest when cultured on the medium supplemented with 31 mM NH4NO3, 1 mM NaH2PO4 and 11 mM K2SO4. In addition, the culture medium applied with 21 mM NH4NO3, 2 mM NaH2PO4 and 16 mM K2SO4 promoted shoot growth. The galangal plantlets cultured on the medium supplemented with 21 mM NH4NO3, 2 mM NaH2PO4 and 11 mM K2SO4 showed the greatest rhizome growth and highest ACA content (25.9 μg/g dry-weight rhizome). Furthermore, these results showed that the growth of galangal rhizome was closely related to the ACA content.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)