การจัดการสภาพแวดล้อมโดยใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมเรือนไทย

Authors

  • ธนาวุฒิ ขุนทอง นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี โครงการผนึกกำลังเปิดสอนระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พิชิต ฤทธิ์จรูญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สุนทร บุญญาธิการ ศาสตราจารย์ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ รองศาสตราจารย์ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การจัดการสภาพแวดล้อม, พรรณไม้, Environmental management, Tree

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมโดยใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ เพื่อปรุงแต่งสภาพแวดล้อมรอบเรือนไทย กรณีศึกษา : เรือนคุ้มขุนแผน โดยกำหนดตำแหน่งการปลูกพรรณไม้ ประจำทิศที่มีศักยภาพสูงสุด เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ และสร้างอิทธิพลของร่มเงาจากพรรณไม้ ประจำทิศเพื่อการบังแดดที่เหมาะสมให้กับผนังเรือน ทั้ง 8 ทิศทาง โดยทำการศึกษาและสรุปผลจากปัจจัย ลักษณะทางกายภาพที่สำคัญของพรรณไม้ประจำทิศ จำนวน 25 ชนิด วิเคราะห์ถึงศักยภาพการให้ร่มเงาของ พรรณไม้ประจำทิศ หาทิศทางและระยะการให้ร่มเงาของพรรณไม้ เพื่อนำศักยภาพดังกล่าว มาใช้เพื่อป้องกัน มุมโปรฟายน์ของดวงอาทิตย์ ที่มีผลกระทบต่อผนังเรือนคุ้มขุนแผนทั้ง 8 ทิศ ในช่วงเวลา 08.00 น.–18.00 น. ตลอดทั้ง 12 เดือนในรอบปี แนวทางการออกแบบ (Design Guideline) จึงเป็นแนวทางในการกำหนดตำแหน่ง ในการปลูกพรรณไม้ และกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของพรรณไม้ที่มีศักยภาพในการป้องกันแสงแดด เพื่อให้ผลใน การบังแดดและให้ร่มเงากับผนังเรือนทั้ง 8 ทิศทาง ในรอบปี ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น. ทำให้สามารถ ลดอุณหภูมิสภาพอากาศในบริเวณที่มีการจัดการสภาพแวดล้อมให้ต่ำลง


Environmental Management for Micro-Climate Modifier of Thai Traditional House by Using Trees

This study aimed to investigate the design guideline for environmental management by utilizing trees to condition the Kum Kun Pan Thai house’s weather. The appropriate trees are placed for maximum protection from sun heat as well as the influence of the trees’ shade was studied and summarized from the physical variables on 25 kinds of tree. The analysis on the level the trees’ shadow is identified the direction and distance of the shadow of each tree. Therefore, the results are used to prevent the sun profile which is effect to the house’s wall 08.00 am.-06.00 pm. throughout of the year. The study results were summarized as a design guideline which be used to determine the position, distance and physical specification of the trees as the sunshades, included the placement of trees in 8 directions for shadowing all sides of the house’s wall during 08.00 am. -06.00 pm. and the reduction of the temperature around the house.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)