รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาศูนย์วัฒนธรรมพระนคร
Keywords:
การจัดการสิ่งแวดล้อม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ศูนย์วัฒนธรรมพระนคร, Environmental Management, Cultural Tourism, Phranakhon Cultural CenterAbstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม และพัฒนารูปแบบการ จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรมพระนคร การวิจัยแบ่งออก เป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่ง คือ การศึกษาสถานภาพสิ่งแวดล้อมในด้านทรัพยากรกายภาพ ชีวภาพ และด้าน เศรษฐสังคม โดยการสำรวจภาคสนามทั้งด้านวิทยาศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์ ประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และระยะที่สอง เป็นการนำผลการวิจัยในระยะที่ 1 มาสังเคราะห์และสร้างรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรกายภาพของศูนย์วัฒนธรรมพระนคร คุณภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง คุณภาพนํ้าผิวดิน มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานนํ้าผิวดินประเภทที่ 4 ทรัพยากรชีวภาพ พบว่า มีความ หลากหลายของชนิดพันธุ์พืช 37 วงศ์ 100 ชนิด และความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ 35 วงศ์ 46 ชนิด สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นการใช้พื้นที่อย่างผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นชุมชนที่อยู่รอบมหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร รับรู้และให้ความสนใจกับโครงการศูนย์วัฒนธรรมพระนคร และศูนย์วัฒนธรรมพระนคร สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ เพราะมีความพร้อมในด้านกายภาพ ปัจจัยพื้นฐานในการ รองรับนักท่องเที่ยว กิจกรรมที่เป็นจุดเด่น คือ การจัดกิจกรรมตลาดนํ้า รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของศูนย์วัฒนธรรมพระนคร เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการปรับปรุงรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2) รูปแบบการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) รูปแบบการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 4) รูปแบบการจัดการ ทรัพยากร
Model of Sustainable Environmental Management for Cultural Tourism : Case Study Phranakhon Cultural Center
This research aimed to study basic environmental data for sustainable cultural tourism, and to develop a sustainable environmental management model for cultural tourism at Phranakhon Cultural Center (PCC). This research was conducted in two phases. The first phase was a survey research to study basic environmental data: the physical resources, value and utilization. The research methods consisted of a fieldwork survey in both environmental sciences and social sciences to acquire primary data, and a literature review as secondary data. The second phase was the development of an environmental management model for PCC sustainable cultural tourism. The result revealed physical resources as soil is very fertile, and the quality of surface water meets the standard type 4; in biological resources, it was found that there was diversity totaling 100 species of 37 plant families and 46 species of 35 animal families; also, there was integrated utilization of the land. PCC can be developed as a cultural tourist attraction since it has physical readiness and the basic factors required for tourism. Its distinctive activity could be a floating market. PCC environmental management to support cultural tourism can be divided into four stages; 1) improvement and preservation of environmental quality 2) infrastructure development 3) cultural tourism development and 4) resource management.
Downloads
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์