การพัฒนาเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ บริเวณวนอุทยานเขานางพันธุรัต

Authors

  • สราวุธ ขาวพุฒิ นักศึกษาปริญญาโทสาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ทรงพล สุขกิจบำรุง อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ อาจารย์สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

ความหลากหลายทางชีวภาพ, เส้นทางศึกษาธรรมชาติวนอุทยานเขานางพันธุรัต, ดัชนีความสำคัญ, คู่มือ, Biodiversity, Nature trail in the Area of Khao Nangpunthurat Park, ecosystem Important Value Index, manual

Abstract

การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติโดยการสำรวจและศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ความ หลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ป่า บริเวณวนอุทยานเขานางพันธุรัต และการสร้างคู่มือศึกษาธรรมชาติ ประกอบเส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 ด้วยกระบวนการสิ่ง แวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่5 และชั้นปีที่6 การศึกษาแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้าน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโดยศึกษาความ หลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่การวางแปลงสำรวจขนาด 20×20 ตารางเมตร รวม 30 แปลง พร้อมกำหนดจุด ศึกษาธรรมชาติทั้งสิ้น 7 จุด ตลอดแนวสำรวจระยะทาง 600 เมตร โดยใช้สูตรคำนวณหาค่าดัชนีความสำคัญ ของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ พบว่า บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีพันธุ์พืชที่มีความสำคัญได้แก่ ข่อยห นาม ขี้หนอน และชิงช้าชาลี ซึ่งมีค่าดัชนีความสำคัญที่ 35.71 22.77 และ 13.58 ตามลำดับ สัตว์ที่มีความ สำคัญได้แก่ ลิงแสม หอยทากและ มดดำ ซึ่งมีค่าดัชนีความสำคัญที่ 23.65 20.15 และ 19.74 ตามลำดับ สำหรับการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการฝึกอบรมได้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้น ปีที่ 5 และชั้นปีที่ 6 จำนวน 30 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมได้แก่บททดสอบก่อนและ หลังการอบรม โดยใช้การทดสอบค่าที พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้บทปฏิบัติการ มีความตระหนัก ความรู้ ความ เข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05

 

Development of A Nature Trail in the Area of Khaonangpunthurat Park

Development of a nature trail in the area of Khao Nangpunthurat park had been done from August 2011 to April 2012 by survey and study of biodiversity such as diversity of flora and fauna together with producing manual of study the biodiversity in the nature trail through Environmental Education process for primary school pupils in grade 5 and 6. The study was divided into 2 parts: Environmental Science, and Environmental Education. The study of Environmental Science part was conducted by studying the biodiversity in the area by laying out a set of 30 survey plots having a single dimension of 20x20 square meters together with determination of 7 learning stations along the length of 600 meters of the nature trail, and the implication of formula for calculating the value of the Importance Value Index (IVI). It was shown that in the area of the nature trail, the important plants such as, in Thai, Streblus ilicifolius (Vidal) Corner, Zolling Dongnaiensis, and Tinospora tomentosa, Miess were found, representing the IVI of 35.71, 22.77, and 13.58 respectively. The important animals were Macaca fascicularis, Achatina fulica, and Paratrechina longicornis representing the IVI of 23.65, 20.15, and 19.74 respectively. For Environmental Education part, the samples used in the training were 30 pupils in grade 5 and 6 drawn by simple random sampling method. The instruments used in the training were pre-test and post-Test through implication of the t-test. The results revealed that after using the manual, the samples gained more awareness, knowledge, understanding, skills and positive attitude towards natural resources and the environment than before attending the training significantly at 0.05.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)