การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของวิทยากรกระบวนการในงานสาธารณสุข การวิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์และความไว

Authors

  • วิวัลย์ดา สิริชีวานันท์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมโภชน์ อเนกสุข อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ระพินทร์ ฉายวิมล อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

วิทยากรกระบวนการ, สมรรถนะ, การพัฒนาตัวบ่งชี้, Facilitators consisted, Competency, A development of indicators

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของวิทยากรกระบวนการในงานสาธารณสุข ทดสอบ ความสอดคล้องของแบบจำลองโครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์และความ ไวของตัวบ่งชี้เมื่อนำแบบประเมินสมรรถนะหลักวิทยากรกระบวนการในงานสาธารณสุขไปใช้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็น บุคลากรสาธารณสุข สังกัดสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 400 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อทดสอบความสอดคล้องของ โมเดลโครงสร้างเชิงเส้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์สมรรถนะหลักของวิทยากรกระบวนการในงานสาธารณสุข

ผลการวิจัยพบว่า

1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักวิทยากรกระบวนการในงานสาธารณสุข มีจำนวน 52 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อยคือ 1) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (.57) มี 7 ตัว บ่งชี้ 2) การเป็นแบบอย่างที่ดี (.93) มี 9 ตัวบ่งชี้ 3) การพัฒนาตนเอง (.94) มี 11 ตัวบ่งชี้ 4) การทำงานเป็นทีม (.95) มี 11 ตัวบ่งชี้ 5) การสร้างและสนับสนุนการมีส่วนของสมาชิกกลุ่ม (.89) มี 14 ตัวบ่งชี้ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ มีค่าอยู่ ระหว่าง 0.28 - 0.77 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดล การวิจัยสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 2060.10 ค่า p-value เท่ากับ 0.0765 ที่องศา อิสระเท่ากับ 1145 ค่า GFI เท่ากับ 0.97 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.033

2. การวิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างคะแนนรวม รายองค์ประกอบจากการประเมินตนเองของวิทยากรกระบวนการกับคะแนนรวมจากการประเมินสมรรถนะรายบุคคลของ ผู้ประเมินพบว่า คะแนนรวมองค์ประกอบหลักสมรรถนะหลักวิทยากรกระบวนการด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม การ พัฒนาตนเอง การเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานเป็นทีม และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสอดคล้องกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การวิเคราะห์ความไวของตัวบ่งชี้ โดยการเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะระหว่างกลุ่มวิทยากรกระบวนการที่มี คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะต่ำ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะหลักวิทยากรกระบวนการ ด้านการสร้างและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม การพัฒนาตนเอง การเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานเป็นทีม และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแบบประเมินสมรรถนะหลัก วิทยากรกระบวนการในงานสาธารณสุขมีความสามารถในการจำแนกความแตกต่างสมรรถนะวิทยากรกระบวนการได้โดย มีค่าความไวทั้งฉบับเท่ากับ 0.8


A DEVELOPMENT OF INDICATORS FOR CORE COMPETENCY OF PUBLIC HEALTH FACILITATORS : ANALYSIS OF EMPIRICAL VALIDITY AND SENSITIVITY

This research aimed at developing composite indicators for core competency of public health facilitators; to use empirical data to test the validity of the structural model of core competency of public health facilitators and analyzed of empirical validity and sensitivity. The research sample consisted of 400 public health officers in Disease Prevention & Control 1-12 Office selected by stratified random sampling technique. The research data were collected by a questionnaire and analyzed by descriptive statistics using statistical software, confirmatory factor analysis, and secondorder confirmatory factor analysis using LISREL software.

The results of this study were as follows:

1. The factors which influenced core competency of public health facilitators consisted of five factors and 52 indicators. The composite indicators of core competency of public health facilitators consisted of five major factors in the order of factor loading as follow : creative thinking (.97), model of positive behavior (.93), self-development (.90), teamwork (.89), and sustain a participatory of the group (.88). The five factors must be practiced by fourteen minor factors and 52 variables which were the indicators of core competency. There were 7 indicators of creative thinking, 9 indicators of model of positive behavior, 11 indicators of self-development , 11 indicators of teamwork, and 14 indicators of create and sustain a participatory of the group. The discriminating index were .28 to .77. The reliability of the questionnaire calculated by the Cronbach’s alpha coefficient was 0.96. The results of the structural validity test of the model of competency of public health facilitate with the empirical data revealed that the model significantly correlated with the empirical data (Chi-Square = 2060.10, df = 1145, P-value = 0.0765, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA = .0333).

2. Analyzed of empirical validity of core competency assessment form, correlation coefficients, rho, were calculated between total scores for sustain a participatory of the group, selfdevelopment, model of positive behavior, teamwork, and creative thinking by self assessment of facilitators and total scores of individual assessment by supervisors. They were a significant correlations at .05 level.

3. Analyzed of sensitivity for using core competency assessment form, compare average scores between high competency facilitators and low competency facilitators for sustain a participatory of the group, self-development, model of positive behavior, teamwork, and creative thinking was statistically different at the 0.5 level. Core competency assessment form for public health facilitators could classify the difference of facilitator competency (sensitivity = 0.8).

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)