การประยุกต์เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวพระราชดำริสู่ชุมชนเมือง : กรณีศึกษาชุมชนสุขใจวิลเลจ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

Authors

  • หัทญา เนตยารักษ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พนิตา โสต้อง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สายพิณ แก้วชินดวง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ลดา มัทธุรศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

การจัดการขยะมูลฝอย, แนวพระราชดำริ, ชุมชนเมือง, Solid Waste Management, Royal Initiative, Urban Community

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยดำเนินการ (Operational Research) เพื่อหา แนวทางการประยุกต์เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวพระราชดำริให้เหมาะกับ ชุมชนเมืองประเภทหมู่บ้านจัดสรร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของขยะ มูลฝอย ศึกษาโครงสร้างประชากรในชุมชนและสถานภาพการจัดการขยะมูลฝอย และ พัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเมือง

การวิจัยเป็นการบูรณาการทั้งวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การศึกษา องค์ประกอบของขยะมูลฝอย และวิธีการทางสังคมศาสตร์โดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน จำนวน 153 คน และการประชุมกลุ่มย่อยคณะกรรมการ ชุมชนและตัวแทนชุมชน (Focus group) เพื่อศึกษาสถานภาพการจัดการขยะมูลฝอยและ พัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเมืองโดยการประยุกต์เทคโนโลยีการจัดการขยะ ตามแนวพระราชดำริ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกความถี่และค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบ ขยะมูลฝอยของชุมชนสุขใจวิลเลจ มีประเภทขยะ ที่พบมากสุดคือ ขยะย่อยสลายได้ ร้อยละ 66.65 รองลงมาคือ ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 22.86 ขยะอันตราย ร้อยละ 3.27 และขยะอื่น ๆ ร้อยละ 7.22 ตามลำดับ โครงสร้างของชุมชนสุข ใจวิลเลจส่วนใหญ่ประกอบด้วยประชากรเพศหญิง (ร้อยละ 57.50) อายุมากกว่า 55 ปี (ร้อยละ 30.70) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 59.50) มีภูมิลำเนาเดิมเป็นคน กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 42.50) และเป็นครอบครัวขนาดเล็ก (ร้อยละ 49.00) ส่วน สถานภาพการจัดการขยะมูลฝอยพบว่า มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประเภทของขยะ (ร้อย ละ 91.50) การคัดแยกขยะ (ร้อยละ 85.00) ส่วนพฤติกรรมการคัดแยกขยะ เศษอาหาร เศษผักและเศษผลไม้ ใส่ถุงทิ้งลงถังขยะ (ร้อยละ 88.20) มีการนำไปขาย ขวดแก้ว พลาสติก และกระดาษ (ร้อยละ 56.90) และนำกลับมาใช้ใหม่ (ร้อยละ 47.70)

นอกจากนี้พบว่า ประชากรมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีการจัดการขยะมูล ฝอยตามแนวพระราชดำริมากที่สุด (ร้อยละ 86.90) และเห็นด้วยกับการนำเทคโนโลยีการ จัดการขยะมาประยุกต์ใช้ในชุมชน (ร้อยละ 90.80) โดยใช้พื้นที่สาธารณะของชุมชนเป็น สถานที่ฝังกลบขยะ (ร้อยละ 67.30) ส่วนรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการขยะตามแนว พระราชดำริที่สามารถนำมาประยุกต์ในชุมชนเป็นเทคโนโลยีฝังกลบขยะในหลุมดินบริเวณ พื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านจัดสรร

 

IMPLEMENTATION OF ROYAL INITIATIVE SOLID WASTE MANAGEMENT TECHNOLOGY FOR UEBAN COMMUNITY: A CASE STUDY OF SUKJAI VILLAGE, THA RAENG SUB-DISTRICT, BANGKHEN DISTRICT, BANGKOK

This operational research aimed to implement the royal initiative approach in solid waste management technology for urban housing estate. The objectives of this study were to observe the composition of municipal solid waste,

community population structure, solid waste management status, and development of urban solid waste management. Research were the integration of scientific approach through solid waste composition, and social approach through interview and questionnaire of 153 people and focus group of community representatives for investigation of solid waste management status and its development following approach of Royal Initiative Project in solid waste management technology. Data were analyzed through frequency and percentage. The results of solid waste composition of Sukjai Village showed that the most common types of waste wasorganic wastes (66.65) followed by recyclable waste (22.86) hazardous waste (3.27) and other wastes (7.22) respectively. Community population structure was predominantly female (57.50) and age over 55 years (30.70) They mostly had graduate degree (59.50), hometown in Bangkok (42.50) and the small family (49.00). They had a good understanding of the types of waste (91.50) waste separation (85.00). For segregation behavior, food waste, vegetable, and fruit scraps were separated to garbage (88.20), the glass bottles, plastic, and paper were sale (56.90) and some of the wastes were reused (47.70).

Moreover, they had a deep understanding of solid waste management technology implemented by Royal Initiative Project (86.90) and agreed to adapt that technology in the community (90.80) by using their public space as a place for landfill (67.30). The way to apply the Royal Initiative waste management and technology in this community was landfill of their waste in the pit located in public area of the housing estate.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)