ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย โรคความดันโลหิตสูง
Keywords:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, self - care behavior, elderly, hypertensionAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่ง ทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรม การดแู ลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย โรคความดันโลหิต และ 2) เปรียบเทียบความรู้ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวัง ในความสามารถของตนเองในการควบคุม โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัว ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อควบคุมโรค ความดันโลหิตสูงก่อน และหลังการเข้าร่วม โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ตนเอง โดยทำการศึกษาในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนมกราคม 2557 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูงของตำบลคลองอุดมชลจร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 51 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบกำหนด โควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเอง 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับ โรคความดันโลหิตสูง 3) แบบสอบถามความ คาดหวังในความสามารถของตนเองในการ ควบคุมโรคความดันโลหิตสูง 4) แบบสอบถาม การปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคความดัน โลหิตสูง และ 5) แบบบันทึกค่าความดัน โลหิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (paired t-test )
ผลการวิจัย มีดังนี้ : 1) ภายหลังการ เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มทดลองมีความรู้ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t =15.61,p =.000) 2) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มทดลองมีความคาดหวังในความสามารถ ของตนเองในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 18.70, p= .000) 3) ภายหลังการเข้าร่วม โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเองกลุ่มทดลองมีการปฏิบัติตัว ในการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรคความดัน โลหิตสูงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 12.38, p= .000) 4) ภายหลังการเข้าร่วม โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความดัน โลหิตช่วงบนลดลงจากก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t= 13.81, p= .000) และมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต ช่วงล่างลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 14.21, p= .000)
THE EFFECT OF HEALTH PROMOTION ON SELF - CARE BEHAVIORS FOR THE ELDERLY PATIENTS WITH HYPERTENSION
This research was a quasiexperimental research. The objectives were : 1) to study the effect of health promotion on self-care behaviors for the elderly patients with hypertension, and 2) to compare the knowledge about high blood pressure, the expectations on their ability in controlling high blood pressure, and the health care aiming for the control of high blood pressure before and after the participation in the program of health promotion on self - care behaviors. The duration of this study was between November 2013 and January 2014. The sample comprised of 51. The tools used in this study were : 1) the program of health promotion on self-care behaviors. 2) a test form inquired on knowledge about high blood pressure. 3) a questionnaire inquired on the expectation on the ability in controlling high blood pressure. 4) a questionnaire inquired about the patients practices on high blood pressure control, and 5) a field note on high blood pressure. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and a paired t - test.
The results of the study were as follows : 1) After the participation in the program of health promotion on self-care behaviors, the knowledge of the experimental group on high blood pressure significantly increased at .05 level (t = 15.61, p = .000). 2) After the participation in the program of health promotion on self-care behaviors, the expectation of the experimental group on their high blood pressure control significantly increased at .05 level (t = 18.70, p = .000). 3) After the participation in the program of health promotion on self-care behaviors, the level of self-care high blood pressure control of the experimental group was statistically significant higher than before the experiment at .05 level (t = 12.38, p = .000). 4) After the participation in the program of health promotion on self-care behaviors, the average systolic blood pressure was statistically significant lower than before the experiment at the .05 level (t= 13.81, p= .000). Apart from that, the average diastolic blood pressure was statistically lower than before the experiment at the .05 level (t= 14.21, p= .000).
Downloads
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์