ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

Authors

  • หาญณรงค์ แสงแก Department of Health Management, Faculty of Science and Technology, Rajabhat Rajanagarindra University

Keywords:

โรคไข้เลือดออก, โปรแกรมสุขศึกษา, แกนนำครัวเรือน, แบบแผนความเชื่อด้าน, สุขภาพ, Dengue hemorrhagic fever, Health education program, Family core leaders, Health belief model

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ กลุ่มเดียว เปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษา ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ของแกนนำครัวเรือน ตำบลเมืองไผ่ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง เป็นแกนนำครัวเรือน จำนวน 35 คน ได้มา โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม และแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย โดยประยุกต์ใช้แบบแผนด้านความเชื่อด้าน สุขภาพ (Health belief model) ร่วมกับ ทฤษฎีการให้แรงสนับสนุนทางสังคม (Social support theory) มาเป็นแนวทางในการกำหนด กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่า Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า แกนนำครัวเรือน หลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษาในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำ ครัวเรือน มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค ไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของโรค ไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตน ป้องกันโรคไข้เลือดออก การรับรู้อุปสรรค ในการ ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และ การปฏิบัติตนในการป้องกัน และควบคุม โรคไข้เลือดออก ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคไข้ เลือดออกของแกนนำครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการสำรวจความชุก ของลูกน้ำยุงลายของแกนนำครัวเรือนภายหลัง ได้รับโปรแกรมสุขศึกษาในการควบคุม และ ป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน พบว่าดัชนีชี้วัดความชุกของลูกน้ำยุงลายมีค่า House Index เท่ากับ 14.28 ค่า Breteau Index เท่ากับ 5.71 ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีค่า ลดลง และอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

THE EFFECT OF HEALTH EDUCATION PROGRAM FOR PREVENTION AND CONTROL OF DENGUE HEMORRHAGIC FEVER IN FAMILY CORE LEADERS, MUANGPHAI SUBDISTRICT ARANYAPRATHET DISTRICT, SRAKAEO PROVINCE

This study was quasi-experimental research one group pretest-posttest to and woud to study the effect of health education program for prevention and control of dengue hemorrhagic fever in family core leaders, Muangphai subdistrict, Aranyaprathet district, Srakaeo province. The sample was family core readers were 35 persons of purposive selection. Tools were in the data collect by questionnaires and aedes larval survey. Health education program for prevention and control of dengue hemorrhagic fever by applying health belief model and social support theory for activity. The statistical formulae used in the data analysis were the percentage, mean, standard deviation and paired t-test Results of the study found that significant statistically at .05 on the perceived susceptibility, severity of disease, benefits of prevention, barriers of prevention and behavior of preventive to against dengue hemorrhagic fever in family core leaders had higher than before health education program for prevention and control of dengue hemorrhagic fever. Consequently, House index (H.I.=5.71) and Breteau index (B.I=14.28). Data indicator of Aedes aegypti’s larva decreased and normal.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)