ผลของวิธีการปลูกต่อการเจริญเติบโตและปริมาณรงควัตถุ ของผักกาดหอมใบพันธุ์กรีนโอ๊ค

Authors

  • คงเอก ศิริงาม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ปราณีต จิระสุทัศน์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิยาลัยราชภัฏพระนคร
  • วิภาภรณ์ แสวงมี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

การเจริญเติบโต, ไฮโดรพอนิกส์, ผักกาดหอม, รงควัตถุ, Growth, hydroponics, lettuce, pigment

Abstract

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา การเจริญเติบโตและปริมาณรงควัตถุของ ผักกาดหอมใบพันธุ์กรีนโอ๊คที่ตอบสนอง ต่อวิธีการปลูกที่แตกต่างกัน วางแผนการ ทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 สิ่งทดลอง ประกอบด้วย ดินชัยบาดาล ดินผสมทาง การค้าสูตรที่ 1 ดินผสมทางการค้าสูตรที่ 2 และสารละลายธาตุอาหารสูตรพระนคร 1 สิ่งทดลองละ 4 ซ้ำ ทำการบันทึกข้อมูลการ เจริญเติบโตของผักกาดหอมใบพันธุ์กรีนโอ๊ค ได้แก่ จำนวนใบ ความสูง ความกว้างทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น น้ำหนักสดส่วนต้น น้ำหนักสดส่วนราก น้ำหนักแห้งส่วนต้น น้ำหนักแห้งส่วนราก และปริมาณรงควัตถุ ได้แก่ คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คลอโรฟิลล์ทั้งหมด และแคโรทีนอยด์ ทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า วิธีการปลูก มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม ใบพันธุ์กรีนโอ๊ค โดยผักกาดหอมใบพันธุ์ กรีนโอ๊คที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารสูตร พระนคร 1 มีจำนวนใบ ความสูง ความกว้าง ทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น น้ำหนักสด ส่วนต้น น้ำหนักสดส่วนราก น้ำหนักแห้ง ส่วนต้น และน้ำหนักแห้งส่วนรากมากที่สุด เท่ากับ 22 ใบ 14.62 เซนติเมตร 29.10 เซนติเมตร 16.90 มิลลิเมตร 86.33 มิลลิกรัม 11.39 มิลลิกรัม 3.60 มิลลิกรัม และ 0.46 มิลลิกรัม ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณ รงควัตถุภายในใบผักกาดหอมใบพันธุ์กรีนโอ๊ค มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยผักกาดหอมใบพันธุ์กรีนโอ๊คที่ปลูกในดิน ชัยบาดาล มีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คลอโรฟิลล์ทั้งหมด และแคโรทีนอยด์ทั้งหมดมากที่สุด เท่ากับ 53.47 28.03 81.50 และ 19.44 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ

 

EFFECT OF GROWING METHODS ON GROWTH AND PIGMENT CONCENTRATIONS OF LEAF LETTUCE (LACTUCA SATIVA VAR. CRISPA L.)

The aim of this research was to investigate the growth and pigment concentration of green oak leaf lettuce (Lactuca sativa var. crispa L.) in response to different growing methods. The experiment was designed as Completely Randomized Design (CRD) with treatments including Chaibadan soil, Commercial soil 1, Commercial soil 2 and Phranakhon 1 nutrient solution formula. Each treatment had 4 replications. Growth of green oak leaf lettuce including leaf number, plant height, plant canopy, stem diameter, shoot fresh weight, root fresh weight, shoot dry weight and root dry weight were measured. Pigments including chlorophyll a (Chl a), chlorophyll b (Chl b), total chlorophyll (TC) and total c a r o t e n o i d s ( C x + c ) w e r e a l s o determined. The results significantly showed that the growths of green oak leaf lettuce were affected by growing methods. The green oak leaf lettuce cultivated in the Phranakhon 1 nutrient solution formula showed the highest leaf number, plant height, plant canopy, stem diameter, shoot fresh weight, root fresh weight, shoot dry weight and root dry weight that they were 22 leaves, 14.62 cm, 29.10 cm, 16.90 mm, 86.33 mg, 11.39 mg, 3.60 mg and 0.46 mg, respectively. In addition, the pigment concentrations in green oak leaf lettuce were significantly different. The Chl a, Chl b, TC and Cx+c were highest when cultivated in Chaibadan soil that were 53.47, 28.03, 81.50 and 19.44 mg g - 1 fresh weight, respectively.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)