การติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพาราในจังหวัดจันทบุรี : หลักการการวิเคราะห์เชิงวัตถุภาพและแบบจำลอง
Keywords:
การวิเคราะห์เชิงวัตถุภาพดัชนี, พืชพรรณ, ยางพารา, Object-Based Image Analysis, Normalization Difference Vegetation Index, RubberAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนก พื้นที่ปลูกยางพาราจากภาพถ่ายจากดาวเทียม ในปี พ.ศ. 2548, 2552 และ 2556 โดยใช้ การวิเคราะห์เชิงวัตถุภาพ และคาดการณ์พื้นที่ ปลูกยางพาราในปี พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบ จำลอง CA - Markov การวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ข้อมูล ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT 5 TM ใน ปี พ.ศ. 2548 และ 2552 และภาพถ่ายจาก ดาวเทียม SMMS ในปี พ.ศ. 2556 จากการ จำแนกพื้นที่ปลูกยางพาราในปี พ.ศ. 2548 พบว่ามีพื้นที่เท่ากับ 103,534.42 ไร่ หรือ ร้อยละ 2.62 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนในปี พ.ศ. 2552 พื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากช่วงปีก่อนเป็น 440,436.51 ไร่ ในขณะที่ ปี พ.ศ. 2556 พื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นเป็น 545,623.33 ไร่ เมื่อทำการคาดการณ์พื้นที่ ปลูกยางพาราในปี พ.ศ. 2560 พบว่าพื้นที่ ปลูกยางพารามีแนวโน้มลดลง โดยมีพื้นที่ เท่ากับ 538,295.39 ไร่
CA - MARKOV MONITORING RUBBER PLANTING AREAS CHANTHABURI: OBJECT - BASED IMAGE ANALYSIS AND CA - MARKOV APPROACH
This research aims to identify the rubber plantingareas from satellite imagery data using Object - Base Image Analysis (OBIA) in 2005, 2009 and 2013, and forecast the rubber planting areas using CA-Markov in 2017 in Chanthaburi province. The satellite images were divided into three dates, LANDSAT 5 TM in 2005 and 2009 and SMMS in 2013. The rubber planting areas of 2005 were 103,534.42 rais or 2.62% of Chanthaburi areas. In 2009, the rubber planning areas have rapidly increased with 440,436.51 rais while in 2013, the rubber planting areas have slightly increased with 545,623.33 rais. To forecast the rubber planting areas in 2017 showed that the areas will slightly decrease with 538,295.39 rais.
Downloads
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์