ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคฟันผุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี

Authors

  • วงษ์ทิพ อินปั๋น สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Keywords:

โปรแกรมทันตสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรค, โรคฟันผุ, Dental health program, Prevention behavior, Dental caries

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ทันตสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใน การป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมความรู้ ด้านทันตสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ กิจกรรมส่งเสริม การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคฟันผุ กิจกรรมส่งเสริมความคาดหวังในประสิทธิผล ของการตอบสนองในการป้องกันการเกิด โรคฟันผุ กิจกรรมส่งเสริมความคาดหวังใน ความสามารถของตนเองในการป้องกันการเกิด โรคฟันผุ และให้แรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง เป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาล ปราจีนบุรี จำนวน 33 คน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมทันตสุขศึกษา นักเรียนมีความรู้ด้านทันตสุขภาพ มีการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ มีการรับรู้ ความรุนแรงของการเกิดโรคฟันผุ มีความ คาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองใน การป้องกันโรคฟันผุ มีความคาดหวังในความ สามารถของตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ และ มีการปฏิบัติตัวในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

 

EFFECT OF DENTAL HEALTH PROGRAM TO DENTAL CARIES PREVENTION BEHAVIOR AMONG SIXTH GRADE STUDENTS OF ANUBANPRACHINBURI SCHOOL

The purpose of this quasiexperimental research was to study effect of dental health program using protection motivation theory and social support. Activities of dental health program applied in this experiment were promoting knowledge about dental health, promoting perceive susceptibility about dental caries, promoting noxiousness about dental caries, promoting response efficacy about dental caries prevention, promoting self efficacy about dental caries prevention, promoting behavior about dental caries prevention and social support. 33 among sixth grade students from Anubanprachinburi school were selected as purposive samples. Results showed that after intervention knowledge about dental health, the samples had higher knowledge in dental health, perceived susceptibility about dental caries, noxiousness about dental caries, response efficacy about dental caries prevention, self efficacy about dental caries prevention and behavior about dental caries prevention with statistically significant at .05. Dental plague of samples was lower with statistically significant at .05.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)