การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

Authors

  • ดุษณี ศุภวรรธนะกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพ 10220
  • รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพ 10220
  • ละอองทิพย์ มัทธุรศ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพ 10220
  • สมคิด สุทธิธารธวัช สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพ 10220
  • คงเอก ศิริงาม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพ 10220

Keywords:

ศักยภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.), การคำนวณพลังงาน, ผู้ป่วยเบาหวาน, capacity, village health volunteer, energy calculation, diabetic patient

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ให้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. ที่ผ่านเกณฑ์ตามเงื่อนไขและสมัครใจจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) พบว่า อสม. ที่สมัครใจ เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 62.98 มีอาชีพเป็นเกษตรกรและพนักงานสาธารณสุข ร้อยละ 46.30 เท่ากัน รายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือนและ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 46.30 เท่ากัน จากการติดตามการปฏิบัติงาน การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานของ อสม. พบว่า อสม. มีศักยภาพในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในระดับดีถึงดีมาก สามารถจดบันทึก จำแนกรายการอาหารวิเคราะห์พลังงานจากสารอาหารและค่าพลังงานอาหารให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานแต่ละคนได้ แต่ อสม. บันทึกไม่สมบูรณ์ตามเกณฑ์การให้คะแนนร้อยละ 85.70 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเอาใส่ใจในการบันทึก การเสียสละเวลาในการพบผู้ป่วยความจำเป็นในการประกอบอาชีพ และภาระกิจส่วนตัวของ อสม. นอกจากนี้ยังพบว่า อสม. สามารถดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้ดีกับคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จากผลการวิเคราะห์ความพงึ พอใจของผ้ปู ่วยเบาหวานต่อ อสม. พบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน มีความพึงพอใจต่อ อสม. ในเรื่องความชัดเจนด้านการแนะนำอาหารในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.05 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยการประเมินศักยภาพในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ในระดับดีถึงดีมาก จากการสะท้อนผลการติดตามและการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อจัดการความรู้ นำไปสู่รูปแบบการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในลักษณะเดียวกันกับชุมชนอื่น ๆ ได้

An objective of this research was to develop a method to improve the capacity of Village Health Volunteers (VHVs) who could support healthy eating habits of diabetic patients in Thadindum subdistrict, Chai Badan district, Lopburi province. There were 7 VHVs who could pass criteria of evaluations and volunteered to be a part of this research. Research tools included personal records of diabetic patients, Scoring Rubric and Mean Value Analysis. The evaluation of the capacity of VHVs showed that 62.98% of them graduated from secondary school. VHVs who worked as farmers were 46.30%, and as public health officers were also 46.30%. VHVs who had average salary below 5,000 baht were 46.30%, and those were had between 5,000 to 10,000 baht were also 46.30%. VHVs’ performance evaluation showed that they had capacity in supporting healthy eating habits of diabetic patients from good to very good - they could record and classify types of foods, analysis energy and nutritions that were suitable for each diabetic patient. However, 85.70% of VHVs’ capacity in recording information of diabetic patients was not perfect according to evaluation due to some factors such as attentiveness of recording, devotion in taking care of patients, limitations from careers and personal duties of each VHVs. Additionally, VHVs could take care of diabetic patients well, if those patients were close to them, such as relatives and neighbors, or if those patients could take care of themselves at some levels. From satisfaction survey of diabetic patients, they were satisfied with VHVs’ advice of healthy diet at very satisfied (4.05). The result paralleled with the evaluation of the performance of VHVs which was at good and very good. Data from this research can be used to develop how to increase capacity of VHV who take care of diabetic patients in other provinces in Thailand.

Downloads

Published

2016-06-23

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)