รูปแบบความสัมพันธ์ของมวลชีวภาพเหนือพื้นดินกับดัชนีพืชพรรณของป่าดิบเขาต่ำ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
Keywords:
มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน, ดัชนีพืชพรรณ, ป่าดิบเขาต่ำ, อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, Above Ground Biomass, Vegetation Index, Lower Montane Forest, Doi Inthanon National ParkAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของป่าดิบเขาต่ำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ จากแปลงตัวอย่างถาวร 15 ha (n = 375) โดยอาศัยสมการแอลโลเมตรี และรูปแบบความสัมพันธ์ของมวลชีวภาพเหนือพื้นดินกับดัชนีพืชพรรณต่าง ๆ 4 ตัวแปร คือ NDVI DVI RVI และ TNDVI จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 7 โดยวิธี reduce major axis analysis ผลการศึกษาพบว่า มวลชีวภาพเหนือพื้นดินของป่าดิบเขาต่ำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ380.9872 Mg/ha ส่วนรูปแบบความสัมพันธ์พบว่า แนวโน้มค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีความสัมพันธ์ กับค่า NDVI, log(DVI), log(GVI) และ log(TNDVI) ในทางลบโดยมีค่าเท่ากับ b = -1.595955e-04**, b = -1.030396e-04**, b = -9.186332e-05**, b = -2.675757e-05** (P < 0.01) ตามลำดับ ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์สำหรับหาค่าปริมาณการกักเก็บคาร์บอนได้ และจะส่งผลต่อแนวทางหรือนโยบายในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของไทยต่อไปในอนาคตให้คงสภาพที่สมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป
This study aimed to evaluate the above-ground biomass of lower montane forest in Doi Inthanon National Park Chiang Mai province from 15 ha permanent sample plots (n = 375) using the allometric equation. A causal relationship model among above ground biomass and vegetation index in 4 variables: NDVI DVI RVI TNDVI Landsat 7 satellite images by means reduce major axis analysis. The results showed that aboveground biomass in lower montane forest below with an average of 380.9872 Mg / ha. The relationship model that was likely the biomass above ground is correlated with the NDVI, log (DVI), log (GVI) and log (TNDVI) negatively by equal to b = -1.595955e-04**, b = -1.030396e-04**, b = -9.186332e-05**, b = -2.675757e-05** (P <0.01), respectively. Which such relationships can be applied for determining the amount of carbon storage and result can use for guidelines or policy to preserve the forest resources of Thailand in the future to maintain the integrity sustainable.
Downloads
Published
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์