รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

Authors

  • ธนภัทร ทวยจัด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา 24000
  • วรากร เกรียงไกรศักดา สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา 24000

Keywords:

รูปแบบการพัฒนา, อาสาสมัครสาธารณสุข, Model Development of Learning Resource, Village Health Volunteer

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ คณะกรรมการแหล่งเรียนรู้  จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนาแหล่งเรียนรู้  แบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่มและแบบประเมินผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยใช้กระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประยุกต์ใช้หลักการและขั้นตอนการดำเนินงานตามแนวความคิดของ เดมมิ่ง (Deming) ตามวงจรคุณภาพ PDCA  ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประกอบด้วยรูปแบบที่สำคัญดังนี้ 1) การจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีสถานที่ตั้งเป็นเอกเทศ มีโครงสร้างที่ถาวร จัดพื้นที่ในการให้บริการจัดเป็นสัดส่วน อยู่ใกล้หรือเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนเพื่อความสะดวกในการใช้บริการ คณะกรรมการแหล่งเรียนรู้มาจากตัวแทนภาคส่วนต่างๆ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งภายในและภายนอกแหล่งเรียนรู้  2) การวางแผนงาน เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานรวมทั้งทำให้เกิดความมั่นใจในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ 3) การพัฒนามุมความรู้ มีเนื้อหาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายและการจัดหมวดหมู่เนื้อหาตามเรื่องราวเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ 4) การจัดกิจกรรม มีทั้งผู้รับบริการสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและผู้รับบริการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมในการเพิ่มพูนประสบการณ์ และเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการที่แตกต่างกัน 5) การจัดหาและผลิตสื่อ มีรูปแบบหลากหลายผสมผสานเพื่อดึงดูดและสร้างจูงใจในการเรียนรู้  6) ฐานข้อมูลข้อมูล มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อใช้ในการสืบค้น วิเคราะห์และวางแผนการพัฒนา 7) การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศ มีการกำหนดความต้องการด้านข้อมูลและการนำใช้ข้อมูลในการพัฒนาด้านต่างๆ 8) การติดตามและประเมินผลเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ช่วยให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

          ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการและสร้างการเรียนรู้ ทักษะ และกระตุ้นความตระหนัก ค่านิยมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยสนับสนุนให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ มีความสะดวกและง่ายในการเข้าถึงบริการและมีความต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และส่งเสริมกระบวนการจัดการในพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลมาพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมชุมชนและความต้องการของประชาชน 

This research Objective 1) Study current conditions, problems and needs to develop learning resources. 2) Study develop learning resources model. 3) Monitoring and evaluation of develop learning resources. Number of the population use to study is number of board of develop learning resources 35 people. The tools used for collect data include interview about current conditions, problems and needs of develop learning resources, group discussion notes and evaluation of develop learning resources by used a participatory action research process. Application of principles and procedures for the implementation of the concept of Deming the quality cycle PDCA.

          The research findings were as follows:

          Model of learning resources in village health volunteers contains important patterns as follows; 1) The establishment and develop learning resources are location independently, a permanent structure. The service area is proportional. Near or center of the community for facilitation of access the service. Board of develop learning resources from representative all sectors get financial support both within and outside of learning resources. 2) Planning for determine direction of the operation including make confidence the work to be successful and effective. 3) Developments of knowledge have content that conducive to learning of the target. And categorize the content based on the story for facilitation for users to come learn. 4) Activities, Users can learn by selves and learn through the process activities to gain experience and linked to their lifestyle to meet the needs of different users. 5) Supply and media production, There are various styles blend to attract and create motivation in learning. 6) Database information, Have base health information to use in searching. Analysis and development plan. 7) Development of database information, define information needs and use information in the development of various aspects. 8) Monitoring and evaluation to build morale. Provide advice and fix the problem.

          Suggestions  
          Promote the learning activities for population to access the service and create a learning skill, stimulate awareness of values and health behavior change, as well as can be applied in real life. Promote the community is a community of learning by encourages all population have the opportunity to learn a variety of formats. Convenient and easy to access, and needs to learn for life. And promote the process of develop learning resources aimed at promoting operational quality. Improve continuously and use the result to development activities to suit the needs of the community and the population.

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. (2556). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: กองสุขศึกษา.

กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). มาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2545). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

นันทวัน เรืองอร่าม. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ชุมชนนาจอมเทียน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

บุญรัตน์ โตพิทักษ์. (2545). แนวโน้มศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในทศวรรษหน้า ปี พ.ศ. 2545-2554. สารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. (2551). การพัฒนารูปแบบศูนย์เรียนรู้ในโรงพยาบาล. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

ประไพ เกษแก้ว. (2548). การบริหารการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ปราโมทย์ น้อยวัน. (2553). แนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ อำเภอสามโคก จังหวัดประทุมธานี.การประประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2

พจนีย์ สวัสดิ์รัตน์. (2550). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร จังหวัดนครราชสีมา. กำแพงเพชร: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดกำแพงเพชร.

สมจินตนา ชังเกตุ. (2554). การพัฒนารูปแบบห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุเทพ พลอยพลายแก้ว และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชนจังหวัดลพบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก. 14(1), 61-70

Downloads

Additional Files

Published

2016-12-16

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)