ผลของการใช้โปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเมืองไผ่

Authors

  • ดวงเดือน หันทยุง หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ฉะเชิงเทรา 24000
  • วรพล แวงนอก สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา 24000
  • วรากร เกรียงไกรศักดา สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา 24000

Keywords:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวาน, Self-care behavior, Health Belief Model, Diabetic patient

Abstract

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน โดยวิธีการจับคู่ตามคุณลักษณะที่กำหนด กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและพฤติกรรม การดูแลตนเอง กิจกรรม การส่งเสริมการรับรู้ ประกอบด้วย การเสนอตัวแบบ การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด และกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตัวที่ดี ประกอบด้วย การบรรยายประกอบวีดีทัศน์ การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ การอภิปรายผลการฝึกปฏิบัติและติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired samples t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติตัวในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน มากกว่าก่อนการทดลองและ มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


The objective of this quasi-experimental research was to study the effects of an applied Health Belief Model program on self-care behaviors of diabetic patients. The study samples were 70 diabetic patients who received medical care services at Meung-Pai sub-district hospital, Aranyaprathet district, Sakeao province. They were equally assigned in to an experimental and a comparison groups using match paired sampling technique by specified characteristics of the sample. The experimental group received program activities that enhancing their knowledge about diabetes and self-care behaviors and promoting their perception. The activities comprised of modeling, exercise, and relaxation; including activities to promote better health practices that were providing health information with video, small groups practices, discussion of practice outcomes, and follow up through home visit by public health officers. Experimentation of the program activities lasted 12 weeks. A self-administered questionnaire was used to collect data. Percentage, mean, standard deviation, Paired samples t-test, and Independent t-test were used to analyze data with the significant level of .05 From results of the study, it was found that after experimentation, the experimental group had significantly higher average scores on knowledge about diabetes, perceived susceptibility and severity of complications from diabetes, perceived benefits and barriers in prevention practices from diabetic complications than before the experimentation and higher than of the comparison group at p-value of .05. After experimentation, the experimental group also had significantly better self-care behaviors in relation to dietary, exercise, and stress management than before the experimentation and better than of the comparison group at p-value of .05.

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2554). สถิติโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สืบค้นจาก http://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php.

ชลธพร คงจำนง. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำบลบึงกระจับ

อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. การค้นคว้าด้วยตนเอง สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณิภารัตน์ บุญกุล และรุจิรา ดวงสงค์. (2555). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจูงใจเพื่อป้องกันโรค และการสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทางไตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. ศรีนครินทร์เวรสาร, 27 (4), 55.

วราลี วงศ์ศรีชา และอรสา กงตาล. (2555). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นุชรี อาบสุวรรณ และ นิตยา พันธุเวทย์. (2558). ประเด็นการรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2557 (ปีงบประมาณ 2558). สืบค้นจาก thaincd.com/document/hot%20news.

ศรัณยา เพิ่มศิลป์ และรุจิรา ดวงสงค์. (2554). ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพแรง

สนับสนุนทางสังคมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา

สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภกนก หันทยุง. (2558). ศึกษาผลโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนบ้านเหล่าอ้อย หมูที่ 5 ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(1), 40-53.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภออรัญประเทศ. (2556). คู่มือตัวชี้วัดและคำอธิบาย(TEMPLATE) การประเมินผลการปฏิบัติราชการ รอบที่ 2 ปี 2556. (อัดสำเนา).

อัจฉราพรรณ แก้วสังข์ และจุฬาภรณ์ โสตะ. (2557). ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำเมย ตำบลหัวนาคำ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 7(2), 57.

Downloads

Published

2016-06-23

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)