การพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
Keywords:
สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกร, chemical for prevent and eliminate pets, farmerAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 2) พัฒนาแนวทางการลดการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรโดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ก่อนและหลังการทดลองการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตรวจพบว่ามีการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช จำนวน 30 ราย ได้มาโดยการสุ่มแบบอย่างง่ายการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ก่อนการเข้าร่วมแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกษตรกรมีความรู้เรื่องสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 13.33 หลังการทดลองการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกษตรกรมี
ความรู้เรื่องสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 24.06 ด้านพฤติกรรมในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 47.74 หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 67.68 ดังนั้นแนวทางการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร เป็นการเพิ่มและพัฒนาความรู้ของเกษตรกร มีผลทำให้เกษตรกรมีความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทพื้นที่เกษตรกรสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ลดภาวะเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมี ช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน และยังช่วยเสริมสร้างค่านิยมในชุมชนในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และยังช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนักในการรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพเกษตรกรร่วมกัน
The purposes of this research were 1) to investigate knowledge farmers on using pesticide 2) to develop guidelines for reducing pesticide through the participatory learning program, and 3) to compare the knowledge of farmer for reducing pesticide before and after the experiment. The sample simple random sampling consisted of 30 farmers who got sick and went Health Promotion Hospital Nongyao Sub-district, Phanomsarnkham District, Province. The statistic used for data analysis were percentage, mean, and standard The results were revealed that before participation in the participatory program, the farmers knowledge on using pesticide was at moderate and after the experiment, it was at a high level ( X =24.06). The farmers’ pesticide before their participation in the participatory learning program (X = 47.74) and after the experiment, it was at a high level ( X = 67.68) The development of guidelines for reducing pesticide using would for reducing risky circumstances of farmers on their health which were chemical substances. Moreover, related persons and agencies should promote organize for utilization of guidelines for reducing pesticide using in the long run.
Downloads
Published
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์