การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ในพื้นที่บริการ วิชาการของวิทยาลัยชัยบาดาลพิพัฒน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อหาความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกของชุมชน
Keywords:
เหมืองข้อมูล, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, Data Mining, Geographic Information SystemAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ที่ใช้เพาะปลูกข้าวข้าวโพด และมันสำปะหลังโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและหาพิกัดที่นำมาใช้ในการประเมินของระบบเป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านภูมิสารสนเทศกับความรู้ในการทำเหมืองข้อมูล (Data mining) ซึ่งเป็นศาสตร์ทางด้าเทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังได้รับความสนใจนำมาใช้กับระบบต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย การวิจัยครั้งนี้ พัฒนาขึ้นโดยการนำเอาข้อมูลทางการเกษตรย้อนหลังตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2554 มาค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละแอทริบิวต์โดยข้อมูลย้อนหลังได้รบั ความร่วมมือจากสำนักเศรษฐกิจการเกษตร นอกจากนัน้ การวิจัยครั้งนี้ยังได้นำทฤษฎีด้านการจำแนกแบบรากต้นไม้ ทฤษฎีโครงข่ายประสาทเทียม นำมาประยุกตในการพัฒนาระบบและออกแบบระบบโดยได้ออกแบบให้มีส่วนบันทึกข้อมูลพื้นฐานที่นำมาใช้เพื่อสร้างและเรียนรู้ระบบ ส่วนของผู้ใช้ที่ต้องการนำข้อมูลพื้นที่ของตนมาประเมินกับระบบ ซึ่งระบบประเมินจะนำข้อมูลที่รับเข้าจากส่วนพื้นฐานมาวิเคราะห์โดยผ่านโปรแกรมสำหรับทำเหมืองข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ใช้โปรแกรม WEKA เข้ามาช่วยในการหาโมเดลสำหรับระบบประเมินจากนั้นเมื่อได้ โมเดลจากโปรแกรม WEKA แล้วจึงนำโมเดลที่ได้มาพัฒนาเป็นระบบประเมินซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้ใช้โปรแกรม Eclipse เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและใช้ภาษา PHP ทำงานร่วมกับ Google Map API และ JQuery เพื่อช่วยในการออกแบบหน้าจอผู้ใช้งาน ระบบประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลังที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ทดสอบระบบประเมินพื้นที่กับข้อมูลในปีพ.ศ. 2554 จำนวน 50 ข้อมูลแล้วนำผลในการประเมินมาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นจริงที่ได้บันทึกไว้ได้ผลการทดลองดังนี้การประเมินผลจากข้อมูลตัวอย่างที่เลือกมาจำนวน 50 ข้อมูลตรงกับผลความเป็นจริงที่บันทึกผลโดยสำนักเศรษฐกิจการเกษตรจำนวน 16 ข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 32.6 จากผลการทดลองข้างต้น กล่าวได้ว่าในขั้นตอนการหาโมเดลที่นำมาใช้พัฒนาระบบประเมินควรมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาวิเคราะห์หาโมเดลในการประเมินที่มีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
This research aims to develop a system to evaluate the suitability of land for cultivation of rice, maize and cassava using geographic information system (GIS) to collect information and find the coordinates used in the assessment of the application. use of geographic information science and knowledge in data mining (Data. mining), which is a science, information technology and are interested widely applied to various systems. This research developed by the introduction of agricultural information from the past year.. 2538 to 2554 to find the relationship of each attribute that by backing the cooperation of the Bureau. Agricultural Economics In addition, this research has also led to the theory of classification tree roots. Theory of neural networks. Applied in the development and design of the system was designed to have the basic information used to create and learn the system. Most of the users who need the information to assess their area to the system. The evaluation system will take the information received from the baseline were analysed by the program for data mining in this research using WEKA to help in finding a model for the assessment of when the model from the WEKA then took the lead. the model has been developed which is evaluated in this study using Eclipse was instrumental in the development and use of PHP works with Google Map API and jQuery to help in the design of the user. Evaluated the suitability of land used to grow rice, maize and cassava, has developed a system to evaluate the data in the year. 2554 of 50 to evaluate the results were compared with the actual results that have saved the following below. Evaluation of the selected sample of 50 matching results fact recorded by the Bureau of Agricultural Economics 16 represented 32 percent. The results of the above Said that the procedure for the models used to develop assessment systems should be collecting more data to be analyzed for the models to evaluate the accuracy increases.
Downloads
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์