ตัวแบบระบบการติดตามโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Keywords:
ตัวแบบระบบการติดตามงาน, โครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, กระบวนการคุณภาพ, ดีมาอิก, monitoring system model, information technology projects, DMAIC method.Abstract
จากปัญหาการที่นักศึกษาทำโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศล่าช้า ซึ่งมีผลต่อการไม่สำเร็จการศึกษาภายใน 4 ปี การวิจัยนี้เสนอแนวทางแก้ปัญหาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินการยอมรับตัวแบบระบบการติดตามโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาตัวแบบใช้ระเบียบวิธีพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอสดีแอลซี (SDLC) และกระบวนการคุณภาพดีมาอิก (DMAIC) 5 ขั้นตอน คือ 1) นิยาม 2) วัด 3) วิเคราะห์ 4) ปรับปรุง และ 5) ควบคุม และประยุกต์ใช้เทคนิครหัสคิวอาร์ในการเข้าใช้ระบบและแสดงผลของงานนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์จำนวน 10 ท่าน ที่เป็นตัวแทนจาก 4 สถาบันการศึกษา ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจในตัวแบบด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ คือ ตัวแบบและแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแบบระบบการติดตามโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ส่วนแนะนำ 2) ส่วนผู้ใช้ 3) ส่วนกิจกรรม 4) ส่วนติดตาม และ 5) ส่วนรายงาน และ 2) ผลการประเมินการยอมรับตัวแบบระบบการติดตามโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง มีระดับการยอมรับมากที่สุดเกี่ยวกับความตรงตามเนื้อหาของตัวแบบ และมีความพึงพอใจต่อตัวแบบได้ค่าเฉลี่ย 4.85 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 The problem that students have delayed completing their information technology projects has caused them not be able to graduate within 4 years of their studies. This purpose of this research was to design and evaluate information technology projects monitoring model. The model was constructed by the system development life cycle method (SDLC) and DMAIC quality method using 5 steps; Define, Measure, Analyze, Improve and Control. QR-Code was used to log in the system and display the results of students’ assignments. The sample group was 10 teachers from 4 universities, selected by using purposive sampling. The data obtained by a questionnaire on model satisfaction was analyzed by statistics method with mean and standard deviation. The instrument used in this research were model and questionnaire. The results of information technology project monitoring model included 5 component : recommending module, user profile, activity module, monitoring module and reporting module. The results of the evaluation information technology projects model shows that the sample groups were satisfied with this content validity of model at the high level and the mean score was 4.85 and the standard deviation of teacher’s satisfaction was 0.13.
Downloads
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์