ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว

Authors

  • อัญญา ปลดเปลื้อง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • อัญชลี ศรีจันทร์ โรงพยาบาลบางสะพาน อำเภอบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 77140
  • สัญญา แก้วประพาฬ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทรโยค อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี 71150

Keywords:

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, การสนับสนุนของครอบครัว, โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, breastfeeding, familial support, GIFT program

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดและครอบครัว ระหว่างก่อนกับหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดและครอบครัวที่มารับบริการในหน่วยงานหลังคลอด ในโรงพยาบาล  จำนวน 37 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว แบบสอบถามความรู้และทัศนคติ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t –test ผลการวิจัยมีดังนี้

1. คะแนนความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดและครอบครัว ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p= .000)

2. คะแนนทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดและครอบครัว ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p= .000)

3. พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างถูกต้องของมารดาหลังคลอดเท่ากับร้อยละ 100

ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลมารดาหลังคลอดจึงควรส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัวอย่างต่อเนื่อง  

 

 คำสำคัญ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสนับสนุนของครอบครัว โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

References

WHO & UNICEF. (2003). Protecting Promoting and Supporting Breast-feeding: The

Special role of Maternity Service. Geneva, Switzerland.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). รายงานประจำปี กรมอนามัย 2557. นนทบุรี.

พรเพ็ญ ปทุมวิวัฒนา และกุสุมา ชูศิลป์. (2554). การพัฒนาบริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อย่างยั่งยืน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 29(2), 14-24.

Loel Fenwick and Phillips. (2000). Single-Room Maternity Care. Lippincott Williams &

Wilkins;

Friedman, M.M. (1986). Family Nursing: Theory and Assessment. New York. Appleton

Century Crofts.

ขนิษฐา เมฆกมล, จรัญญา ดีจะโปะ และ ชญาดา เนตรกระจ่าง. (2556). ผลของการส่งเสริมการเลี้ยงลูก

ด้วยนมแม่โดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อความรู้ ทัศนคติของมารดาหลังคลอดและครอบครัวและ

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี,

(2), 47-59.

อรทัย วงศ์พิกุล และคณะ. (2558). ความรู ทัศนคติและการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภโรงพยาบาล

สงเสริมสุขภาพ อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ค้นจาก

http://www.anamai.moph.go.th/download [2558, 24 มิถุนายน].

สายทิพย์ ไชยกำปั่น และคณะ. (2558). การส่งเสริมการปรับตัวสู่บทบาทของการเป็นบิดามารดา.

ค้นจาก http://kcenter.anamai.moph.go.th/info.php?info_id=1984&group [2558, 5 กรกฎาคม].

จิรา ขอบคุณ, ภัทรภร สฤษชสมบัติ และนฤมล ขุริรัง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อย่างเดียวครบ 6 เดือน. การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง กำลังคนด้านสุขภาพกับการบริการด้วย

หัวใจความเป็นมนุษย์ สถาบันพระบรมราชชนก ร่วมกับ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ

(หน้า 24-31). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

Published

2016-12-16

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)