การใช้ประโยชน์ อนุรักษ์ และฟื้นฟู ทรัพยากรน้ำอย่างมีสมดุล THE UTILIZATION CONSERVATION AND RESTORATION OF EQUILIBRIUM THE WATER RESOURCES
Keywords:
การใช้ประโยชน์, การอนุรักษ์, การฟื้นฟู, ทรัพยากรน้ำ, การถอดบทเรียนUtilization, Conservation, Restoration, Water resources, Lesson learnedAbstract
วัตถุประสงค์การวิจัยมีดังนี้ 1) เพื่อถอดบทเรียนและหาแนวทางในการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วมที่เหมาะสม 2) เพื่อพัฒนาคู่มือวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำและ 3) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ของผู้นำองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน ประชากร 10 อำเภอ กลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน
ผลการถอดบทเรียน ปี 2554 จังหวัดนครสวรรค์ ประสบปัญหาอุทกภัย 10 อำเภอ 77,605 ครัวเรือน 239,740 คน อ.ชุมแสงพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด (231,734 ไร่) อ.เมือง มีค่าความเสียหายสูงสุด (32,000 ล้านบาท) ส่วนแนวทางในการจัดการภัยพิบัติทางน้ำที่เหมาะสม คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย สร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ และมีการพัฒนาคู่มือวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ รวมทั้งมีการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ชุมชนตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนและสมดุล ช่วยกันอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ โดยเรียนรู้ผ่านเครือข่าย มีแผนเตรียมความพร้อมภัยพิบัติทางน้ำ ฝึกซ้อมแผนอพยพ และมีการบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้สู่การสอนวิชานิเวศวิทยา
The utilization conservation and restoration of the equilibrium of the water resources. The objectives were; 1) to create lessons learned and to find ways for the management of flood disasters in Nakhon Sawan province, 2) to develop a manual for waterfront management by the community, and 3) to build the ability for local governments and communities to manage of water. Based on Participatory Action Research by meetings with private, governor organization and local wisdom people. The data from the lessons learned and guidance was analyzed. A synthesis provided instructions for community life on the riverfront in Nakhon Sawan. This can then be used to strengthen local government. The community consists of 1,000 people in 10 districts.
Results showed that in 2554, Nakhon Sawan province was flooded in 10 districts. The damage was found in 77,605 households consisting of 239,740 people. Chum Saeng district had flooding occupying almost 231,734 acres, but the maximum damage took place in Muang district where the damage totaled 32,000 million baht. Lessons have been learned as the result of the great flood in 2554 with a participatory approach for preventing future devastation to Nakhon Sawan. The result is the development of a riverfront community guide for Nakhon Sawan, of which 1,000 copies were printed. And preparation of public health, by linking to the utilization, conservation and restoration of equilibrium of the water resources.
References
คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สัมฤทธิ์ผลในประเทศไทย วุฒิสภา. (2546). รายงานการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สัมฤทธิ์ผลในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : วุฒิสภา.
ประภาพรรณ อุ่นอบ. (2552). แนวคิดและวิธีวิทยาการถอดบทเรียน. กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2556). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เอ. ลิฟวิ่งจำกัด.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2553). โครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับยุทธศาสตร์จังหวัดกิจกรรมพัฒนาขีดความสามารถทางด้านการบริหารจัดการน้ำ (แผนน้ำ) ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. จังหวัดนครสวรรค์ : สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์.
สำนักส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย. (2555). คู่มือการจัดการภัยพิบัติสำหรับประชาชน: ตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Disaster Risk Management: CBDRM). กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.
สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์. (2553). การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำในภาคเกษตรแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 4 (2), 5-16.
Downloads
Published
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์