การหาลายนิ้วมือแฝงบนวัตถุพยานที่เป็นโลหะโดยใช้เซลล์ไฟฟ้าเคมี

Authors

  • อดิเรก พิทักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: มจธ.
  • อวิกา แสงวิมาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: มจธ.
  • เขมฤทัย ถามะพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: มจธ.
  • สุรินทร์ ชมเสาร์หัศ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ศิริประภา รัตตัญญู กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Keywords:

เซลล์ไฟฟ้าเคมี, การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า, รอยลายนิ้วมือแฝง, พื้นผิวโลหะ, Electrochemical Cell, Electrodeposition, Latent Fingerprints, Metal Surface

Abstract

ลายนิ้วมือประกอบด้วยรูปแบบของเส้นนูนซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวสำหรับแต่ละบุคคลและไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นรอยลายนิ้วมือจึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญในการเชื่อมโยงไปหาผู้กระทำความผิด โดยรอยลายนิ้วมือที่พบบนวัตถุพยานที่รวบรวมได้ในสถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นลายนิ้วมือประเภทรอยลายนิ้วมือแฝง (latent fingerprints หรือ LFPs) ซึ่งมองไม่เห็นหรือมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่ชัดเจน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการตรวจหา LFPs บนวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น อาวุธ เครื่องมือ และปลอกกระสุนปืน โดยใช้วิธีการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า โดยอาศัยเซลล์ อิเล็กโทรไลต์อย่างง่าย ประกอบด้วยแท่งคาร์บอนและตัวอย่างวัตถุพยานทำหน้าที่เป็นขั้วบวกและลบ ตามลำดับ ขั้วไฟฟ้าทั้ง 2 นี้ จุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ เมื่อป้อนไฟฟ้ากระแสตรงให้กับเซลล์ ไอออนบวกจะเคลื่อนที่มารับอิเล็กตรอนที่ขั้วลบ เกิดเป็นอนุภาคของโลหะเคลือบที่ผิววัตถุตัวอย่างบริเวณที่ไม่มีรอยลายนิ้วมือเท่านั้น ทำให้สามารถเห็นภาพรอยลายนิ้วมือได้อย่างชัดเจน ในการทดลองได้ทำการศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เหมาะสม ผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลาย AgNO3 ความเข้มข้น 5 mM ที่ความต่างศักย์ไฟฟ้า 5 V สามารถตรวจหา LFPs บนพื้นผิวเรียบและขรุขระ เช่น แผ่นทองแดง ทองเหลือง เหล็ก สแตนเลส สังกะสี และเหรียญกษาปณ์ ได้ภายในเวลา 1 นาที นอกจากนั้นยังพบว่าการตรวจการ LFPs ด้วยวิธีการชุบโลหะด้วยไฟฟ้านี้ สามารถทำให้ LFPs ที่สดใหม่และ LFPs ที่มีอายุซึ่งมีรูปแบบของรอยนิ้วมือปรากฏให้เห็นเพียงเล็กน้อย มีรายละเอียดปรากฏชัดเจนขึ้นได้ ปัจจุบันวิธีการตรวจหา LFPs ที่พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ได้รับการยืนยันโดยสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ประเทศไทย และมีการนำไปใช้จริงในทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มความคมชัดของ LFPs บนพื้นผิวของวัตถุที่เป็นโลหะแล้ว

Author Biography

ศิริประภา รัตตัญญู, กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

References

ไทพีศรีนิวัติ ภักดีกุล (2537). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการสืบสวนสอบสวนและการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์. เชียงใหม่ : ม.ป.พ.

Choi, M.J., McDonagh, A.M., Maynard, P. and Roux, C. (2008). Metal-Containing Nanoparticles and Nano-Structured Particles in Fingermark Detection. Forensic Science International. Vol. 179, 87-97.

Choi, M.J., Smoother, T., Martin, A.A., McDonagh, A.A., Maynard, P.J. and Lennard, C. (2007). Fluorescent TiO2 Powders Prepared using a New Perylene Dimide Dye: Applications in Latent Fingermark Detection. Forensic Science International. Vol. 173, 154-160.

Jackson, A.R.W. and Jackson, J.M. (2011). Forensic Science. 3rd ed. Harlow : Pearson Prentice Hall.

Wang, Y., Mo, Y. and Zhou, L. (2011). Synthesis of CdSe Quantum Dots using Selenium Dioxide as Selenium Source and its Interaction with Pepsin. Spectrochimica Acta Part A: Molecular and Biomolecular Spectroscopy. Vol. 79, 1311-1315.

Wang, Y.F., Yang, R.Q., Wang, Y.J., Shi, Z.X. and Liu, J.J. (2009). Application of CdSe Nanoparticle Suspension for Developing Latent Fingermarks on the Sticky Side of Adhesives. Forensic Science International. Vol. 185, 96-99.

Qin, G., Zhang, M., Zhang, Y., Zhu, Y., Liu, S., Wu, W. and Zhang, X. (2013). Visualizing Latent Fingerprints by Electrodeposition of Metal Nanoparticles. Journal of Electrochemical Chemistry. Vol. 693, 122-126.

Ramos, A.S. and Vieira, M.T. (2012). An Efficient Strategy to Detect Latent Fingermarks on Metallic Surfaces. Forensic Science International. Vol. 217, 196-203.

Downloads

Additional Files

Published

2016-12-16

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)