ฝาง ม้ากระทืบโรง และปลาไหลเผือกสำหรับบำบัดโรคเบาหวาน

Authors

  • พรชนก ชโลปกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

บำบัดโรคเบาหวาน, ฤทธิ์การยับยั้งกิจกรรมแอลฟาอะไมเลส, ฤทธิ์การยับยั้งกิจกรรมแอลฟากลูโคซิเดส, สารสกัดพืช, Diabetes therapy, alpha-Amylase inhibitory activities, alpha-Glucosidase inhibitory activities, Plant extracts

Abstract

เบาหวานเป็นกลุ่มโรคเกี่ยวข้องกับการเผาพลาญอาหารเนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หนึ่งในวิธีการรักษาโรคเบาหวานได้แก่การลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการยับยั้งเอนไซม์ย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตซึ่งได้แก่ แอลฟาอะไมเลส (α-amylase) และแอลฟากลูโคซิเดส (α-glucosidase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหาร ในงานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งกิจกรรมของแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสจากฝาง ม้ากระทืบโรง และปลาไหลเผือก พบว่าที่ความเข้มข้น 0.01 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรของสารสกัดเอทานอลถูกนำมาวัดกิจกรรมของเอนไซม์โดยมีอะคาร์โบสเป็นตัวยับยั้งมาตรฐาน ผลการทดลองแสดงให้เห็นการยับยั้งกิจกรรมของแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่สารสกัดฝาง > ม้ากระทืบโรง > ปลาไหลเผือก โดยสารสกัดฝางสามารถยับยั้งกิจกรรมของแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสได้ดีที่สุด (IC50 เท่ากับ 0.08 และ 0.18 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) รองลงมาได้แก่สารสกัดม้ากระทืบโรง (IC50 เท่ากับ >1 และ 0.20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และปลาไหลเผือก (IC50 เท่ากับ >1 และ 0.45 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ดังนั้นจากผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากฝางนั้นมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนเภสัชในการบำบัดโรคเบาหวานได้

Ceasalpinia sappan, Ficus foveolata and Eurycoma longifolia in Diabetes therapy

Diabetes mellitus is a metabolic disorder caused by insufficient or inefficient insulin secretion that is characterized by hyperglycemia. One of the therapeutic approach for decreasing the concentration of glucose in the blood is to inhibition of carbohydrate digesting enzymes; a-amylase and a-glucosidase, in the gastrointestinal tract. In this research, the inhibitory effect against the digestive a-amylase and a-glucosidase was determined by using C. sappan, F. foveolata and E. longifolia extracts. At 0.01-1 mg/ml concentrations of ethanol extracts were measured the activity of enzymes inhibition. Acarbose was used as the standard inhibitor. The results showed that the a-amylase and a-glucosidase inhibitory activities of extracts were C. sappan > F. foveolata > E. longifolia extracts, respectively. The a-amylase and a-glucosidase with IC50 of C. sappan extract was 0.08 and 0.18 mg/ml, followed by F. foveolata extract (>1 and 0.20 mg/ml) and E. longifolia (>1 and 0.20 mg/ml). Therefore, these results suggest that C. sappan extract has a potential which might be used as a functional food and nutraceutical for diabetes therapy.

Downloads

Published

2017-06-09

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)