แนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการ

Authors

  • ประสิทธิ์ กมลพรมงคล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

แนวทางการจัดการ, การส่งเสริมการออกกำลังกาย, พนักงาน, สถานประกอบการ, เทคนิคเดลฟาย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการใช้เทคนิคเดลฟาย โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 17 ท่าน ซึ่งเป็นการสอบถามความคิดเห็นเป็นจำนวน 3 รอบ โดยรอบแรกเป็นการสอบถามความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามชนิดปลายเปิดในประเด็นที่กำหนดให้ หลังจากนั้นได้นำข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมาสังเคราะห์ เพื่อสร้างเป็นแบบสอบถามชนิดปลายปิด เพื่อนำแบบสอบถามชนิดปลายปิดที่ได้นี้ไปถามผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมอีกเป็นรอบที่ 2 และนำข้อมูลที่ได้จากรอบ 2 มาวิเคราะห์โดยหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  โดยที่ค่ามัธยฐานเป็นค่าที่ใช้พิจารณาความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดการ ส่วนค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เป็นค่าที่ใช้พิจารณาความสอดคล้องของคำตอบระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้วยกันว่ามีความสอดคล้องกันสูงหรือต่ำ หลังจากนั้นนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ในรอบที่ 2 ไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารอีกรอบซึ่งเป็นรอบที่ 3 เพื่อเป็นการยืนยันความคิดเห็นเดิม หรือต้องการเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น แล้วนำข้อมูลในรอบที่ 3 มาวิเคราะห์เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มีความเห็นว่าแนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการประกอบด้วย 3 ส่วน  1) แนวทางด้านการวางแผนการส่งเสริมการออกกำลัง ประกอบด้วย มีการกำหนดนโยบายและประกาศนโยบาย มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดบทบาทหน้าที่ มีการสำรวจและจัดทำข้อมูล  มีการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย จัดทำแผนงาน/โครงการ ให้การสนับสนุนทรัพยากร 2) แนวทางด้านการปฏิบัติงานการส่งเสริมการออกกำลังกายมีกลวิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม การสนับสนุนและการสร้างแรงจูงใจ การสื่อสารสุขภาพ การสร้างทักษะส่วนบุคคล การเข้าถึงบริการสุขภาพและการออกกำลังกาย 3)  แนวทางการประเมินผลการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการ ประกอบด้วย การประเมินผลเป็นระยะ ๆ การประเมินผลที่ได้รับจากการดำเนินการ การประเมินผลลัพธ์ที่ได้รับจากการดำเนินการ การประเมินผลกระทบที่ได้รับจากการดำเนินการ รายงานผลและการเผยแพร่ผลการดำเนินการ  มีความเป็นได้ในระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนความสอดคล้องของคำตอบในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกันในทุกๆ ด้าน ในระดับสูงถึงสูงมาก

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2555- 2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของสกสค.

จันทร์ทิพย์ อินทวงศ์ และคณะ. (2556). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของพนักงานในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก จังหวัดระยอง, ธรรมศาสตร์เวชสาร, 13(3), 340-351.

ชื่นกมล สุขดี, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, และวันเพ็ญ ทรงคำ. (2553). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนงานผลิตเครื่องเรือนไม้ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารสภาการพยาบาล, 25(3), 121-139.

พรมมินทร์ เมธากาญจนศักดิ์ และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการสร้างความตระหนักในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในระดับบุคคลและครอบครัว. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(3), 124-133.

มงคล การุณงามพรรณ, สุดารัตน์ สุวารี และนันทนา น้ำฝน. (2555). พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการเขตเมืองใหญ่. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 32(3), 51-66.

มาหะนะ กอสอ, ภาสุรี แสงศุภวานิช, พิชญา พรรคทองสุข. (2552). พฤติกรรมเสี่ยงของลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง จังหวัดสงขลา, สงขลานครินทร์เวชสาร,27(2), 106-116.

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ กรณีดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ: กรณีวัยทองและวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). ภาวะสุขภาพของแรงงานไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุพรรณี ภาวีละ, มณฑา เก่งกาพานิช, ธราดล เก่งการพานิช และศรัณญา เบญกุล. (2556).พฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา, 36(123), 81-93.

อำพล จินดาวัฒนะ, สุรเกียรติ อาชานุภาพ, สุรณี พิพัฒน์โรจนกมล. (2550). การสร้างเสริมสุขภาพ: แนวคิด หลักการ และบทเรียนของไทย. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

World Health Organization. (1986). Ottawa Charter For Health Promotion. Geneva:WHO.

Downloads

Published

2017-06-09

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)