การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการกระจายวัคซีนไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีการฝูงผึ้ง : กรณีศึกษาอำเภอวังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์
Keywords:
วัคซีน, การกระจาย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, วิธีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีฝูงผึ้ง, vaccines, distribution, Tambon Health Promoting Hospital, Bee Colony Optimization AlgorithmAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเส้นทางการขนส่งวัคซีนที่มีระยะเวลาการขนส่งที่ต่ำที่สุดในการขนส่งวัคซีนจากโรงพยาบาลประจำอำเภอไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใช้เทคนิคการหาเส้นทางที่ใช้เวลาในการขนส่งที่ต่ำที่สุดด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีฝูงผึ้ง โดยการใช้กรณีศึกษาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 8 แห่ง ซึ่งสามารถลดเวลาการขนส่งวัคซีนจาก 401 นาที เหลือเพียง 371 นาที มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 2.44 หรือลดลงร้อยละ 7.42 โดยใช้เวลาในการหาคำตอบเพียง 7.88 วินาที มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.07
References
ประพันธ์ พงษ์นิกร. การประเมินการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548
วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์ และ รัฐพล สังคะสุข. การประยุกต์ใช้วิธีฝูงผึ้งสำหรับการจัดตารางการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิต-บรรจุ, วิศวกรรมสาร มข. ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน – มิถุนายน 2556
ศิริรัตน์ เตชะธวัช และคณะ. การสำรวจคุณภาพของวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นของหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ ในเขตพื้นที่สาธารณสุข 12 เขต ปี 2547, สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค, 2547
สัญญา ทำนักผล. ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ต่อระบบการเก็บรักษาวัคซีนในสถานีอนามัย : กรณีศึกษาอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551
Pham, D. T., Ghanbarzadeh, A., Koç, E., Otri, S., Rahim, S., & Zaidi, M. (2006). - The Bees Algorithm — A Novel Tool for Complex Optimisation Problems. In D. T. Pham, E. E.
Son Duy Dao , Kazem Abhary and Romeo Marian. (2014), Optimisation of partner selection and collaborative transportation scheduling in Virtual Enterprises using GA. Expert Systems with Applications Vol.41, p.6701–6717
Downloads
Published
Issue
Section
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์