ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี

Authors

  • ธวัชชัย เสือเมือง หลักสูตรสาธารณสุขมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุภกรรณ จันทวงษ์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • วรเดช ช้างแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

Keywords:

คุ้มครองผู้บริโภค, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, Factors Affecting, Consumer Protection, Health Product, Sub-District Health Promoting Hospital

Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำาเนิน
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจัย
ที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
จังหวัดสุพรรณบุรีและเพื่อศึกษาความสามารถของตัวแปรที่สามารถเป็นปัจจัยเชิงทำนายที่มีผลต่อการ
ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งศึกษาในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายให้
รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน
174 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งทำการเก็บข้อมูลในระหว่าง
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ.2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์
ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่มีผลการประเมิน
ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 57.47 ผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านเกณฑ์ระดับพื ้นฐานมีค่าเฉลี ่ยเท่ากับ 1.28 (m=1.28 s=0.26) ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.27 (m=3.27, s=0.54) ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารงานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.41 (m=3.41, s=0.47) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานและปัจจัยด้านกระบวนการบริหารงานมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.366 p <0.01, r = 0.504 p <0.01) ตามลำดับ ซึ่งสามารถพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานดังนี้ ปัจจัยด้านกลยุทธ์สามารถใช้ทำนายผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 18 (R2 = 0.180 F = 39.054 p <0.01) และปัจจัยด้านกลยุทธ์และด้านค่านิยมสามารถใช้ทำานายผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 24.4 (R= 0.244

F = 28.932 p <0.01)

This is a cross-sectional descriptive research. The objective was to study operating
results health product consumer protection of health personal in sub-district health promoting hospitals, factors affecting health product consumer protection of health personnel in sub-district health promoting hospitals, Suphanburi province. And to study the ability of variable factors that can predict the factors that influence product consumer protection of health personal. The questionare was health officials have been assigned to health product consumer protection of health personal in sub-district health promoting hospitals with 174 subjects. The collecting information from a performance in fiscal 2016. Data collection was carried out from February 1, 2016 to May 31, 2016. The instrument used for data collection was a questionnaire. For data analysis include the frequency, percentage, average, standard deviation, Chi-squared test, Pearson’s Product Correlation Coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The results were as follows: most sub-district health promoting hospitals passed the evaluation criteria 57.47 percent and product consumer protection standard level = 1.28 (m=1.28 s=0.26), Factors supporting operations
of health product consumer protection of health personnel are middle level =3.27 (m=3.27 s=0.54). Factors in management of health product consumer protection of health personal are high level = 3.41 (m=3.41 s=0.47). Factors personal characteristics no relation to operating results of health product consumer protection of health personnel in sub-district health promoting hospitals, suphanburi province. Factors supporting operations and Factors management in relation to operating results of health product consumer protection of health personnel in sub-district health promoting hospitals, suphanburi province statistically significant (r=0.366 p <0.01, r=0.504 p <0.01). Could predict factors affecting operations, Strategic factors can be used to predict the health product consumer protection was 18 percent (R = 0.180 F = 39.054 p <0.01) And the strategic and values can be used to predict the health product consumer protection was 24.4 percent (R2 = 0.244 F = 28.932 p <0.01).

References

เอกสารอ้างอิง

กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ. บริษัท หกหนึ่งเจ็ด จำกัด.

คณะทำงานจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (2553). แนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. โรงพิมพ์อุษาการพิมพ์.

ชะอรสิน สุขศรีวงศ์. (2556). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. ในภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิพย์วรรณ จูมแพง. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามการรับรู้ของบุคลากรในหน่วยงานระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2555.

นิภาวรรณ รอดโรคา. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่วนกลาง. วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน 2556, 48-60.

นันทวรรณ ภู่เนาวรัตน์, ทิพาพร กาญจนราช. (2556). ผลการปฏิบัติงานและทัศนคติต่องานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. การประชุมวิชิการและการนำเสนอผลงานระดับชาติ The 5th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2013 16-17 กุมภาพันธ์ 2556, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิกุล เสียงประเสริฐ. (2557). รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. ในวารสารวิชาการสาธารณสุข ,ปีที่ 23 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557 ,984-991.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (สมช.). (2552). คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

วรรณพร อิ่มผ่อง. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์

สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิรวิชญ์ เวชกิจ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของกองช่างองค์การบริหารงานส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2557). โครงการวิจัยสถานการณ์พฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้บริโภค.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ผลการดำเนินงานของ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2557). สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2557.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.

Dian Marie Hosking, H. Peter Dachler, Kenneth J. Gergen. (2013). Management and Organization : Relational Alternatives to Individualism. Taos Institute Publications (E-Book Format Only).

Gary Dessler. (2003). Human Resource Management (10th Edition). Prentice Hall.

Joseph F.Hair ,Willium C.Black ,Barry J.Babin. (2006). Multivariate Data Analysis , 6th

Edition, 197

Downloads

Published

2017-06-09

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)