PHYSICAL AND MECHANICAL PROPERTIES OF CELLULAR LIGHTWEIGHT CONCRETE MIXED WITH FINELY GROUND GLASS

Authors

  • ผศ.ดร.ณัฏฐ์ มากุล คณะอุตสาหกรรมเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • Department of Civi Engineering Technology,Faculty of Industrial Technology

Keywords:

Cellular Lightweight Concrete, Finely ground glass, Compressive Strength

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นประกอบไปด้วย องค์ประกอบเคมีและสมบัติทางกายภาพของเศษแก้วบดละเอียดในการการนำมาใช้แทนที่ในมวลรวมละเอียด (ทรายแม่น้ำ) ในการผลิตคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์ เพื่อประเมินผลกระทบของเศษแก้วบดละเอียดต่อสมบัติเชิงกายภาพและทางกล โดยกำหนดค่าหน่วยน้ำหนักเท่ากับ 900 และ 1,100 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรหน่วยน้ำหนักของคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์หลังจากผสมเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยน้ำหนักที่ได้ออกแบบไว้ต้องมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ± 50 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การออกแบบส่วนผสมโดยการนำเศษแก้วบดละเอียดแทนที่ทรายแม่น้ำโดยน้ำหนักที่อัตราส่วนร้อยละ 0, 20, 40 และ 60 สัดส่วนวัสดุผงต่อทรายเท่ากับ1:1 อัตราส่วนสารก่อฟองโฟมต่อน้ำเท่ากับ 1:30 และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุผงเท่ากับ 0.5 โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบสมบัติเบื้องต้นของวัสดุ สมบัติทางกายภาพของคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์ได้แก่ หน่วยน้ำหนัก การไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัว สมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์ได้แก่ กำลังอัด จากผลการทดสอบพบว่าเศษแก้วบดละเอียด พบว่ามีซิลิคอนออกไซด์ (SiO2) เป็นธาตุองค์ประกอบหลักและมีโครงสร้างทางผลึกที่แตกต่างกัน มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเท่ากับ 85.20 ไมโครเมตร โดยเมื่อเศษแก้วบดละเอียดมาใช้ร่วมในงานผลิตคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์ส่งผลทำให้ความสามารถในการไหลแผ่ดีขึ้น ระยะการก่อตัวลดลง โดยกำลังอัดเป็นไปข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2601-2556 (คอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ)

References

กฤษณ์ กิ่งโก้ (2553) คุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมสารซุปเปอร์พลาสติคไซเซอร์, วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะวิศวกรรมศาสตร์

สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ (2547) อิฐคอนกรีตมวลเบาผสมโฟมทางเลือกใหม่เพื่อการประหยัดพลังงาน พัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 51 กรกฎาคม – กันยายน. หน้า 23-28

อิทธิ์พล รัตนมงคลทิพย์ (2553) โมดูลัสยืดหยุ่นและอัตราส่วนปัวซองของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า, วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะวิศวกรรมศาสตร์

American Standard Testing and Materials. (2011). ASTM C128 Standard Test Method for Relative Density (Specific Gravity) and Absorption of Fine Aggregate. Annual Book of ASTM Standard, Volume 4.02, Philadelphia.

American Standard Testing and Materials. (2011). ASTM C136 Standard Test Method for Sieve Analysis and Fine Aggregates and Coarse Aggregates. Annual Book of ASTM Standard, Volume 4.02, Philadelphia.

American Standard Testing and Materials. (2011). ASTM C138 Standard Test Method for Density (Unit Weight), Yield, and Air Content (Gravimetric) of Concrete. Annual Book of ASTM Standard, Volume 4.02, Philadelphia.

American Standard Testing and Materials. (2011). ASTM C796 Standard Test Method for Foaming Agents for Use in Producing Cellular Concrete using Preformed Foam. Annual Book of ASTM Standard, Volume 4.02, Philadelphia.

American Standard Testing and Materials. (2011). ASTM C807 Standard Test Method for Time of Setting of Hydraulic Cement Mortar by Modified Vicat Needle. Annual Book of ASTM Standard, Volume 4.02, Philadelphia.

British Standards Institution. (2009). BS EN 12390-3 Testing Hardened Concrete, Compressive Strength of Test Specimens. London.

European Federation of National Associations Representing producers and applicators of specialist building products for Concrete (2002). Specification and Guidelines for Self-Compacting Concrete. Surrey.

Published

2019-01-11

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)