การรับสัมผัสสารปรอทจากสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของพุทธิปัญญา

Main Article Content

กัญชพร ชัยสูงเนิน
เวณิกา เบ็ญจพงษ์
เพียงพร เจริญวัฒน์
พัชรา แพนพันธ์อ้วน
นิยม สุศิริวัฒนนนท์
ปิยะมิตร ศรีธรา
จินตนา ศิริวราศัย

บทคัดย่อ

หนึ่งในสารที่ทราบกันดีว่ามีความเป็นพิษต่อระบบประสาท คือสารปรอท ซึ่งเป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษและพบได้ในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในรูปของ methylmercury โดยอาหารทะเลเป็นแหล่ง หลักของการรับสัมผัสของ  methylmercury งานวิจัยทางด้านผลกระทบของปรอทกับความผิดปกติของความสามารถของสมอง (Cognitive impairment) มีจำกัดในคนไทย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับปรอทกับการเปลี่ยนแปลงของระดับพุทธิปัญญา (Cognitive function) โดยผู้เข้าวิจัยจำนวน 436 คนอายุระหว่าง 45-65 ปี การวิเคราะห์ระดับปรอทในเลือดใช้ inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS) และประเมิน cognitive function ด้วยแบบประเมิน Montreal Cognitive Assessment (MoCA) ค่าเฉลี่ยของระดับปรอทของกลุ่มการศึกษาเท่ากับ 5.12 ไมโครกรัมต่อลิตร ระดับปรอทในเลือดเพิ่มขึ้นตามความถี่ของการบริโภคปลาที่มีไขมันปานกลาง นอกจากนี้ระดับปรอทในเลือดมีความสัมพันธ์กับการลดลงของระดับพุทธิปัญญาโดยเฉพาะในส่วนของความจำ โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้พบแนวโน้มความสัมพันธ์ ที่สามารถอธิบายการรับสัมผัสปรอทกับการเกิดความผิดปกติทางด้านความสามารถของสมอง นอกจากนี้งานวิจัยในส่วนกลไกระดับเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพิษต่อระบบประสาทจากปรอทการประเมินการรับสัมผัสที่เหมาะสม และการศึกษาบทบาทของสสารจากธรรมชาติหรือการเสริมสสารเพื่อลดความเสี่ยงหรือผู้ลกระทบต่อสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ควรดำเนินการต่อไป

Article Details

How to Cite
ชัยสูงเนิน ก. ., เบ็ญจพงษ์ เ. ., เจริญวัฒน์ เ. ., แพนพันธ์อ้วน พ. ., สุศิริวัฒนนนท์ น. ., ศรีธรา ป. ., & ศิริวราศัย จ. . (2018). การรับสัมผัสสารปรอทจากสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของพุทธิปัญญา. วารสารพิษวิทยาไทย, 33(1), 51–68. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol/article/view/243647
บท
บทความวิจัย