Risk Assessment of Exposure to Benzoic Acid and Sorbic Acid from the Consumption of Sausage and Processed Minced Pork (Moo Yor) in Thai People
Main Article Content
Abstract
กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิกเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ป้องกันการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์อาหาร หลายชนิด การศึกษานี้เป็นการประเมินการได้รับกรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิกจากการบริโภคอาหารประเภท ไส้กรอก และหมูยอของคนไทยกลุ่มอายุต่างๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงของการได้รับกรดเบนโซอิก และกรด ซอร์บิก จากการบริโภคอาหารดังกล่าว โดยเก็บตัวอย่างไส้กรอกและหมูยอจากตลาดของจังหวัดต่างๆ รวม 19 จังหวัด นำมาวิเคราะห์ปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก โดยเทคนิค HPLC นำข้อมูลปริมาณกรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิกในอาหาร และข้อมูลการบริโภคอาหารที่เจือปนกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก มาคำนวณ ปริมาณการได้รับสัมผัส โดยวิธี probabilistic estimation ผลการศึกษาพบการใช้กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ในอาหารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ ได้แก่ ไส้กรอกไก่ และไส้กรอกหมู และการใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกเกินค่าสูงสุดที่ อนุญาตให้ใช้ในหมูยอ เมื่อประเมินการได้รับสัมผัสต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน พบว่าประชากรอายุ 3-5.9 ปี ได้รับกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกจากการบริโภคไส้กรอกและหมูยอสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น เมื่อประเมินการได้รับ สัมผัสเปรียบเทียบกับค่าที่ร่างกายสามารถรับได้ (Acceptable Daily Intake: ADI) พบว่าการได้รับกรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิกในประชากรอายุ 3-5.9 ปี เมื่อประเมินที่ระดับเฉลี่ยในกลุ่มประชากรทั่วไป (per capita) มีค่า เพียงร้อยละ 15.54 และ 0.44 ของ ADI ตามลำดับ แต่ถ้าประเมินการได้รับสัมผัสระดับสูงคือที่ 97.5 เปอร์เซ็นต์ไทล์ พบว่าการได้รับกรดเบนโซอิกจากการบริโภคไส้กรอกและหมูยอในประชากรกลุ่มนี้จะสูงถึงร้อย ละ 88.04 ของค่า ADI โดยเฉพาะเมื่อประเมินในเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคเท่านั้น (eater only) พบว่าจะได้รับกรด เบนโซอิกจากการบริโภคหมูยอรายการเดียว สูงถึงร้อยละ 93.18 ของ ADI ดังนั้นการบริโภคหมูยอในเด็กเล็ก ควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และควรควบคุมการใช้วัตถุเจือปนอาหารกลุ่มนี้อย่างเข้มงวดเพื่อไม่ให้เกิดการใช้ อย่างไม่ถูกต้อง