Risk Assessment of Synthetic Food Colors from Food Consumption of School Children in Urban and Rural Areas of Suratthani Province, Thailand
Main Article Content
Abstract
สีสังเคราะห์ผสมอาหารจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่นิยมใช้ในอาหารหลายชนิด การได้รับสีเหล่านี้ใน ปริมาณสูงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กวัยเรียน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการ ได้รับสีสังเคราะห์จากการบริโภคอาหารในเด็กวัยเรียนนำไปประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพตามหลักการ ประเมินความเสี่ยงที่ JECFA แนะนำ โดยนำปริมาณการได้รับสัมผัสสีไปเปรียบเทียบกับค่า ADI (Acceptable Daily Intake) และเปรียบเทียบการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนในเขตเมืองและชนบทของจังหวัดสุราษฎร์- ธานี จำนวน 430 คน โดยเก็บข้อมูลการบริโภคอาหารผสมสีที่เด็กนิยมบริโภคและวิเคราะห์ปริมาณสี สังเคราะห์ที่พบในอาหารนั้น
ผลการประเมินพบว่าการได้รับสีสังเคราะห์จากการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนทั้งที่ระดับเฉลี่ยและ ระดับสูง (97.5 เปอร์เซนต์ไทล์) ของการบริโภคไม่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากปริมาณ การได้รับสัมผัสมีค่าต่ำกว่า ADI ของสีแต่ละชนิดอยู่มาก โดยซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟ ซี เอฟ เป็นสีที่มีการได้รับ สัมผัสสูงสุดในเด็กประถมและมัธยมศึกษาของเขตชนบทและเด็กระดับมัธยมศึกษาในเขตเมือง คิดเป็นร้อยละ ของ ADI เท่ากับ 5.95, 3.41, และ 1.96 ตามลำดับ ขณะที่เออริโธรซีนเป็นสีที่ได้รับสัมผัสสูงสุดในเด็ก ประถมศึกษาของเขตเมือง โดยมีปริมาณการได้รับสัมผัสร้อยละ 4.06 ของ ADI โดยรวมพบว่าปริมาณการ ได้รับสีสังเคราะห์ผสมอาหารของนักเรียนในเขตเมืองต่ำกว่านักเรียนในเขตชนบท แม้ว่าการได้รับสีสังเคราะห์ จากการบริโภคอาหารของนักเรียนทั้งเขตเมืองและชนบทของ จ.สุราษฎร์ธานี ถือว่าไม่น่าจะก่อให้เกิดผลเสีย ต่อสุขภาพ แต่พบว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ปริมาณสูงในอาหารบางรายการเช่น พบสีซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟ ซี เอฟ ในชานมเย็นและลูกชิ้นสีส้ม สูงถึง 63.5 และ 349.78 มก./กก. อาหาร ตามลำดับ และยังพบในอาหารที่ไม่ อนุญาตให้ใส่สีสังเคราะห์หลายรายการ ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังการใช้สีในอาหารที่เด็กนักเรียนนิยมบริโภค โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และเครื่องดื่ม