ความสัมพันธ์ระหว่างกวามดันโลหิต และการเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไชม serum gamma-glutamyltransferase กับการดื่มแอลกอฮอล์
Main Article Content
Abstract
ระดับการทำงานของเอนไซม์ serum gamma-glutamyltransferase (GGT) เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพตัวหนึ่งสำหรับการ ประเมินเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ และบทบาทที่สำคัญของเอนไซม์นี้จะเกี่ยวข้องกับสารค้นอนุมูลอิสระกลูตาไรโอน ซึ่งสารน จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความดันโลหิตและการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์ และอิทธิพลของระดับการทำงานของเอนไซม์ GGT ต่อความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ กวามคันโลหิตสูง การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบภาคตัดขวางที่กลุ่มศึกษาเป็นพศชาย จำนวน 260 คน อายุระหว่าง 30-60 ปี การ ประเมินทางด้านสุขภาพเมื่อเริ่มโครงการประกอบด้วยการซักประวัติค้นสุขภาพ การตรวจร่างกาย การวัดความคันโลหิต การ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมความเสี่ยงต่อสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่าระดับความดันโลหิต ระดับของอนไซม์ GGT, AST, ALT ในกลุ่มดื่มแอลกอฮอล์มีระดับสูงกว่ากลุ่มเดดื่มและกลุ่มไม่ดื่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์ทางสถิติเพิ่มติมโดยการแบ่งระดับของเอนไซม์ GGT เป็น 4 กลุ่ม (4 quartiles) หลังจากควบคุมตัวเปรเรื่อง BMI และอายุ แล้วพบว่ามีความสัมพันธ์เเบบ dose-response relationship ระหว่างระดับ SBP (Q1; 125.3 mmHg, Q2; 129.6 mmHg, Q3: 135.1 mmHg, and Q4; 137.3 mmHg, ตามลำดับ), DBP (Q1; 77.12 mmHg, Q2; 81.20 mmHg, Q3: 84.07 mmHg, and Q4; 85.51 mmHg, ตามลำดับ) และ serum ALT (Q1; 18.25 U/L, Q2; 22.34 U/L, Q3: 32.95 U/L, and Q4;52.49 U/L, ตามลำดับ) กับ ระดับของเอนไซม์ GGT นอกจากนี้พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์กับตัวแปรที่ต้องการศึกษา โดยในกลุ่มดื่มปานกลางพบการเพิ่มขึ้นของระดับ GGT คับระดับ SBP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.028) และในกลุ่มดื่มมาก พบการเพิ่มขึ้นของระดับ GGT คับระดับ SBP, triglyceride และ ALT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.019, 0.033 และ 0.047 ตามลำดับ) ส่วนภาวะความดันโลหิตสูงที่มีระดับของ SBP ผิดปกติพบสูงสุดในกลุ่มดื่มแอลกอฮอล์ (37.79%) รองลงมาได้เเก่ กลุ่มเคยดื่ม (3.39%) และกลุ่มไม่ดื่ม (5.51%) เช่นเดียวกับระดับของ DBP ผิดปกติพบสูงสุดในกลุ่มดื่มแอลกอฮอล์ (28.35%) รองลงมาได้แก่ กลุ่มเคยดื่ม (9.45%) และกลุ่มไม่ดื่ม (5.51%) เมื่อพิจารณาระดับของเอนไซม์ GGT พบว่ากลุ่มที่มีระดับน้อย กว่า 50 U/L ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง น้อยว่ากลุ่มที่มีระดับของเอนไซม์ GGT มากกว่าหรือเท่ากับ 50 U/L ผลจากการสึกยาครั้งนี้พบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับเอนไซม์ GGT สามารถนำมาใช้ในการทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความ ดันโลหิตสูงในกลุ่มคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ได้ และความสัมพันธ์นี้จะเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มที่มีระดับของระดับของเอนไชม GGT มากกว่าหรือเท่ากับ 50 U/L ซึ่งเป็นค่าที่เกินค่าอ้างอิงมาตรฐาน