อันตรกิริยาของสารพฤกษเคมีองค์ประกอบกำหนดความสามารถของสารสกัดรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการป้องกันการตายของเซลล์ประสาท SK-N-SH จากภาวะเครียดออกซิเดชั่น

Main Article Content

มณีรัตน์ อิสระมงคลการ
เวณิกา เบ็ญจพงษ์
จินตนา ศิริวราศัย
ภัทรนา แซ่จิว
บุญยดา จิตธรธรรม
ศุภนาถ ศรีศาลา
รจนา ชุณหบัณฑิต

บทคัดย่อ

ภาวะสูงวัยนำไปสู่ความบกพร่องของการทำหน้าที่ของไมโตคอนเดรียและความเสียหายจากภาวะเครียดออกซิเดชั่นซึ่งมีความสำคัญต่อพยาธิสภาพของโรคความเสื่อมของระบบประสาท เนื่องจากเซลล์สมองมีอัตราเมแทบอลิซึมสูงแต่มีความสามารถสร้างเซลล์ใหม่ได้น้อยจึงเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง การคึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบผลของสารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ (RBBE) ต่อความเป็นพิษในเซลล์ประสาทจากสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ที่ทำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชันในเซลล์ SK-N-SH โดยการวัดจำนวนเซลล์มีชีวิต ระดับอนุมูลอิสระ (ROS) ในเซลล์ และความต่างศักย์เมมเบรนไมโทคอนเดรียน (MMP) ผลจาก co-treatment บ่งชี้ว่าในภาวะเครียดออกซิเดชันจาก H2O2 ขนาดสูง 400 µM สารสกัดจากรำข้าวและสารไซยานิดินออกฤทธิ์เป็นโปรออกซิแดนท์ จึงเลือกใช้วิธี pre-treatment ในการศึกษา พบว่า H2O2 ที่ความเข้มข้น 800 ไมโครโมล ทำให้ระดับ ROS ในเซลล์สูงขึ้นเซลล์ตายมากขึ้นในขณะที่ MMP มีแนวโน้มลดลง เมื่อให้ RBBE ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ก่อนให้ H2O2 สามารถปกป้องเซลล์โดยลดอนุมูลอิสระและเพิ่มจำนวนเซลล์มีชีวิตถึงระดับใกล้เคียงกับเซลล์ควบคุม นอกจากนี้ระดับ MMP ยังเพิ่มขึ้นสูงกว่าเซลล์ควบคุม ส่วนสารไซยานิดินในขนาดที่มีอยู่ใน RBBE ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่สามารถลดความเสียหายต่อเซลล์ประสาทจากภาวะเครียดออกซิเดชัน ผลการศึกษาอาจชี้แนะว่า  pre-treatment เซลล์ด้วย RBBE ลดการตายของเซลล์ได้เป็นผลจากอันตรกิริยาของสารผสมของสารพฤกษเคมีองค์ประกอบที่มีอยู่ในสารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่

Article Details

How to Cite
อิสระมงคลการ ม., เบ็ญจพงษ์ เ. ., ศิริวราศัย จ. ., แซ่จิว ภ. ., จิตธรธรรม บ. ., ศรีศาลา ศ. ., & ชุณหบัณฑิต ร. (2021). อันตรกิริยาของสารพฤกษเคมีองค์ประกอบกำหนดความสามารถของสารสกัดรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการป้องกันการตายของเซลล์ประสาท SK-N-SH จากภาวะเครียดออกซิเดชั่น. วารสารพิษวิทยาไทย, 36(2), 1–13. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol/article/view/249270
บท
บทความวิจัย