การศึกษาความคงตัวของสารคาร์บาเมตในเลือดภายใต้สภาวะทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมตเป็นสารพิษที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษในประเทศไทย แต่ข้อมูลความคงตัวของสารกลุ่มคาร์บาเมตยังมีน้อย ดังนั้นการศึกษานี้มุ่งศึกษาความคงตัวของสารกลุ่มคาร์บาเมต 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บาริล คาร์โบฟูราน และโพรพอกเซอร์ ที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ทำการศึกษาโดยเติมสารคาร์บาริล คาร์โบฟูราน และโพรพอกเซอร์ในเลือดที่ความเข้มข้น 3 ระดับ (ต่ำ, กลาง, สูง) จากนั้นแบ่งเลือดดังกล่าวออกเป็นกลุ่มๆ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง และ 4 องศาเซลเซียส โดยวิเคราะห์หาสารทั้งสามชนิดในเลือดที่วันเริ่มต้นก่อน จากนั้นวิเคราะห์เลือดที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องที่วันที่ 1, 2, 3, 7, 14 และ 30 และวิเคราะห์เลือดที่เก็บไว้ที่ 4 องศาเซลเซียสที่วันที่ 3, 7, 14, 30, 60, 90 และ 180 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการทดสอบอะโนวา ผลพบว่าสารทั้งสามชนิดที่เก็บในอุณหภูมิห้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้อยกว่า 15% เทียบกับค่าตั้งต้นตั้งแต่วันที่ 7 ถึง 30 (p<0.001) และสารทั้งสามชนิดที่เก็บใน 4 องศาเซลเซียสลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้อยกว่า 15% เทียบกับค่าตั้งต้นตั้งแต่วันที่ 7 ถึง 180 (p<0.001) คาร์โบฟูรานมีอัตราลดลงเร็วที่สุดตามด้วยโพรพอกเซอร์ และคาร์บาริล โดยสรุปคาร์บาริล, คาร์โบฟูราน และโพรพอกเซอร์มีความไม่คงตัวที่อุณหภูมิห้อง และ 4 องศาเซลเซียส คาร์โบฟูรานมีความไม่คงตัวที่สุดตามด้วยโพรพอกเซอร์ และคาร์บาริล ดังนั้นจึงแนะนำว่าตัวอย่างเลือดจากผู้ที่สงสัยว่าได้รับสารพิษกลุ่มคาร์บาเมตควรเก็บตัวอย่างและตรวจวิเคราะห์โดยเร็ว เพราะสารพิษกลุ่มคาร์บาเมตทั้งสามชนิดนี้มีความไม่คงตัวทั้งที่อุณหภูมิห้อง และ 4 องศาเซลเซียส
Article Details
References
Wananukul W, Sriapha C, Tongpoo A, et al. Human poisoning in Thailand: The Ramathibodi Poison Center's experience (2001-2004). Clin Toxicol (Phila). 2007; 45(5): 582-8.
Tongpoo A, Sriapha C, Wongvisawakorn S, et al. Occupational carbamate poisoning in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2015; 46(4): 798-804.
Eddleston M, Buckley NA, Eyer P, et al. Management of acute organophosphorus pesticide poisoning. Lancet. 2008; 371(9612): 597-607.
Albano GD, Malta G, La Spina C, et al. Toxicological Findings of Self-Poisoning Suicidal Deaths: A Systematic Review by Countries. Toxics. 2022; 10(11): 654.
Barr DB, Buckley B. In vivo biomarkers and biomonitoring in reproductive and developmental toxicity. In: Gupta RC ed. Reproductive and developmental toxicology. London: Academic Press; 2011: 253-65.
Reiser RW, Dietrich RF, Djanegara TKS, et al. Identification of a novel animal metabolite of methomyl insecticide. J Agric Food Chem. 1997; 45(6):2309-13.
Kawakami Y, Fuke C, Fukasawa M, et al. An experimental study of postmortem decomposition of methomyl in blood. Leg Med (Tokyo). 2017; 25: 36-42.
Ramagiri S, Kosanam H, Sai Prakash PK. Stability study of propoxur (Baygon) in whole blood and urine stored at varying temperature conditions. J Anal Toxicol. 2006; 30(5): 313-6.
Scientific Working Group for Forensic Toxicology. Scientific Working Group for Forensic Toxicology (SWGTOX) standard practices for method validation in forensic toxicology. J Anal Toxicol. 2013; 37(7): 452-74.
Ghosh AK, Brindisi M. Organic carbamates in drug design and medicinal chemistry. J Med Chem. 2015; 58(7): 2895-940.
van der Meer PF, de Korte D. The effect of holding times of whole blood and its components during processing on in vitro and in vivo quality. Transfus Med Rev. 2015; 29(1): 24-34.
Donaldson AE, Lamont IL. Biochemistry changes that occur after death: potential markers for determining post-mortem interval. PLoS One. 2013; 8(11):e82011.
Yamagishi Y, Iwase H, Ogra Y. Post-Mortem Changes of Methomyl in Blood with Hemoglobin. Chem Res Toxicol. 2021; 34(1): 161-8.