แคดเมียมในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง
วิยดา กวานเหียน
ดลรวี แวเยง
ศรุดา คุระเอียด

บทคัดย่อ

อุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเชื่อมโยงกับการได้รับสารแคดเมียมเข้าสู่ร่างกาย วัตถุประสงค์ในวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับแคดเมียมในปัสสาวะกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการศึกษาครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคเบาหวานจำนวน 22 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคเบาหวานจำนวน 23 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างเลือดหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และเก็บตัวอย่างปัสสาวะในตอนเช้าเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับแคดเมียมในปัสสาวะ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของระดับแคดเมียมในปัสสาวะมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p˂0.05) จากการศึกษายังพบว่าระดับแคดเมียมในปัสสาวะกับค่าระดับน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (r=0.295) โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ถึงแม้ว่าการศึกษาครั้งนี้มีข้อกำจัดเรื่องจำนวนตัวอย่าง ผลการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าแคดเมียมอาจจะเป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดโรคเบาหวานของประชากรทั่วไป และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมทางระบาดวิทยาและกลไกการเกิดโรคเบาหวานจากการสัมผัสสารแคดเมียมเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคเบาหวาน

Article Details

How to Cite
ยิ้มเที่ยง ส., กวานเหียน ว., แวเยง ด. ., & คุระเอียด ศ. . (2019). แคดเมียมในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพิษวิทยาไทย, 34(1), 21–35. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol/article/view/243593
บท
บทความวิจัย