Apoptotic RBM38, TUSC2 and ANO1 Proteinsใน Human Serum Proteome มีความสัมพันธ์กับภาวะโฮโมซิสเตอนีสูงในเลือด

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ลายน้ำเงิน
สิทธิรักษ์ รอยตระกูล
ตวงรัตน์ ตั้งเสถียรพันธ์ุ
ปิยะมิตร ศรีธรา
จินตนา ศิริวราศัย

บทคัดย่อ

ภาวะโฮโมซิสเตอีนสูงในเลือด เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเนื่องจาก สามารถชักนำให้เกิดภาวะเซลล์ของกล้ามเนื้อหลอดเลือดตายได้ (apoptosis) ในปัจจุบันการศึกษาทางด้าน โปรติโอมิกส์มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และทางคลินิกงานวิจัยนี้เป็น การศึกษาเบื้องต้น ที่ใช้เทคนิคทางโปรติโอมิกส์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของโปรตีนที่แสดงออกที่เกี่ยวข้องกับ การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่มีภาวะโฮโมซิสเตอีนสูงในเลือด 3 ระดับ ใช้ chemiluminescense immunoassay สำหรับวัดระดับ โฮโมซิสเตอีนในเลือด ศึกษาการแสดงออกของโปรตีน ในซีรัมด้วยเทคนิค gel electrophoresis และ LC/MS-MS วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนด้วย DecyderMssoftware เปรียบเทียบความแตกต่างของโปรตีนในรูปของ Venn diagram ด้วย Jvenn และจัดกลุ่มของโปรตีนด้วย Panther software ทำนายความสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนและสารโมเลกุลอื่นโดย STITCH โปรแกรมเวอร์ชั่น 5.0 ผลการศึกษาพบว่า มีโปรตีนเฉพาะ 8 ชนิดที่มีการพบในปริมาณสูง (up-regulated) ในกลุ่มคนที่มีภาวะ โฮโมซิสเตอีนสูงในเลือด ได้แก่ MUC-19, LPAR1, MAPO2, GPALPP1, FECH, TUSC2, RBM38 และANO1 ประเด็นสำคัญพบว่า RBM38, TUSC2 และANO1 เป็นโปรตีนที่พบเฉพาะในกลุ่มที่มีโฮโมซิสเตอีน ในเลือดสูงกว่า 50 μmol/L ที่มีสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในขบวนการตายของเซลล์  ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน ภายหลังการแปลงรหัสที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระดับโฮโมซิสเตอีน และความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย